- ผศ.ดร. วรรณิณี จันทร์แก้ว
- 469 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เพิ่มก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรด้วยวัชพืช |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
คำสำคัญ | ก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร;พลังงานทดแทน;วัชพืช |
หน่วยงาน | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | สวทช. ภาคเหนือ ร่วมกับนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาวิจัยการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักเศษวัชพืชร่วมกับของเสียจากสุกรได้สำเร็จ ทำให้เกษตรกรผลิตก๊าซชีวภาพได้มากขึ้น และช่วยลดการเผาวัชพืชในท้องถิ่น โดยในงานวิจัยได้นำเชื้อแบคทีเรีย สกุล Lactobacillus sp. (แลกโตบาซิลลัส) ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกได้ มาใช้ในการหมักวัชพืชที่มีเส้นใยเซลลูโลสสูง ร่วมกับของเสียจากมูลสุกร โดยหมักในถังที่มีฝาปิดมิดชิดขนาด 200 ลิตร มีอัตราส่วนวัชพืชท้องถิ่นต่อมูลสัตว์ ในอัตรา 30 : 70 แบคทีเรียจะผลิตก๊าซชีวภาพนำไปใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 1 ชั่วโมง ทั้งนี้วัชพืชที่ใช้หากเป็นวัชพืชขนและพืชสด เช่น หญ้าขน หญ้าคา จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=n5Y23p3hKvA |
สาขาการวิจัย | - |
เพิ่มก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรด้วยวัชพืช is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.