ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.นฤเทพ สุวรรณธาดา
เจ้าของผลงานร่วม ดร.จรัญ แสนราช
คำสำคัญ การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน;การวัดระดับความคิดสร้างสรรค์;ความคิดสร้างสรรค์;การส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์;Project Based Learning;Creative Thinking;Measure creativity;Creative test
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของความคิดเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและ หลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนรู้ด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และระยะที่ 3 ศึกษาผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลที่ได้ คือ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อรูปแบบ EMC-SYSTEM Model ว่ามีความเหมาะสมโดยรวมมีค่าเท่ากับร้อยละ 93.64 และผลเปรียบเทียบระดับความคิดสร้างสรรค์ของ กลุ่มตัวอย่างมีค่าสถิติทดสอบแสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบประเมินความคิดเชิงสร้างสรรค์หลังเรียน มีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบประเมินความคิดเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อีกทั้งความพึงพอใจของผู้เรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10 และผู้วิจัยได้สำรวจพบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14 และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.469 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11 เมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า หัวข้อ ใช้กระบวนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์หรือคิดสร้างสรรค์ มีระดับความพึงพอใจใน ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 แสดงให้เห็นถึงการนำรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ หรือรู้สึกและเข้าถึงกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริงต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.emc.in.th/
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง