ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผ่นรองรางรถไฟจากยางพารา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สมเจตน์ พัชรพันธ์
คำสำคัญ การผลิตแผ่นรองรางรถไฟจากยางพารา;แผ่นยางรองรางรถไฟ
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย โครงสร้างของทางรถไฟโดยทั่วไป ประกอบด้วยรางเหล็กที่วางอยู่บนหมอนรองราง โดยที่รางเหล็กนี้จะถูกยึดให้ติดกับหมอนรองรางด้วยเครื่องยึดเหนี่ยว ในปี 2556 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีโครงการปรับปรุงทางรถไฟ โดยทำการปรับปรุงรางและหมอนรองราง เปลี่ยนหมอนรองรางไม้เดิมเป็นหมอนคอนกรีตอัดแรงชนิดโมโนบล็อก จึงมีความจำเป็นในการใช้งานแผ่นรองรางรถไฟเป็นจำนวนมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นว่า แผ่นรองรางนี้สามารถผลิตได้จากยางพาราธรรมชาติและสามารถผลิตได้ภายในประเทศ จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาสมบัติของวัสดุยางธรรมชาติและทำการออกแบบชิ้นงานเพื่อใช้เป็นแผ่นยางรองรางรถไฟ ศึกษาหาสูตรยางพาราธรรมชาติผสมสารเคมีและทดสอบสมบัติในด้านต่างๆให้ได้ตามมาตรฐานแผ่นรองรางรถไฟ (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) และนำไปทดสอบสมรรถนะด้วยเครื่องมือทดสอบที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=25101
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


การพัฒนาแผ่นรองรางรถไฟจากยางพารา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง