- ดร.เฉลิมพล สุวรรณภักดี
- 987 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การถ่ายทอดนวัตกรรมการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่บ้าน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ |
คำสำคัญ | ดูแล;ผู้ป่วย |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | โรคจิตเภทเป็นหนึ่งในบรรดาโรคทางจิตเวชที่มีความรุนแรง และเรื้อรัง พบว่ามีผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 21 ล้านคนทั่วโลก (WHO, 2015) สำหรับในประเทศไทยพบว่า มีผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชประมาณ 2,669,821 คน ในจำนวนนี้พบว่าเป็นผู้ที่ป่วยด้วยโรคจิตเภทจำนวนถึง 480,266 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.98 โดยโรคจิตเภทเป็นอันดับหนึ่งของผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชทั้งหมดของประเทศ (กรมสุขภาพจิต, 2560) และในปี 2555 พบความชุกของผู้ที่ป่วยด้วยโรคจิตเภทจำนวน 6.2 ต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชทั้งหมด (กรมสุขภาพจิต, 2556) การรักษาโรคจิตเภทต้องใช้ระยะเวลานาน พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีการกลับเป็นซ้ำ ยิ่งป่วยนาน อัตราการกลับเป็นซ้ำยิ่งสูงขึ้นโดยพบว่าอัตราการกลับเป็นซ้ำจะประมาณ 28 % ในปีแรก และ 43% และ 54 % ในปีที่สอง และปีที่สามถัดมา (Alvarez-Jimenez et al, 2012) และร้อยละ 40-50 จะมีอาการหลงเหลือไปตลอดชีวิต (Kaplan & Sadock, 2003) ดังนั้นการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทจึงเป็นการดูแลที่ยาวนาน ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทจะมีอาการกลับเป็นซ้ำเป็นพักๆ จึงต้องเป็นการดูแลร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาล และที่บ้าน หรือ โดยญาติผู้ดูแลควบคู่กันไปตลอดการดูแล |
สาขาการวิจัย |
|
การถ่ายทอดนวัตกรรมการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่บ้าน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.