ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การถ่ายทอดเทคโนโลยีไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อ แก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รองศาสตราจารย์จรวย สุวรรณบำรุง |
คำสำคัญ | ยุงลาย;ไข้เลือดออก;ป้องกัน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ถ่ายทอดเทคโนโลยีไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวคิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่แกนนำระดับอำเภอทั้ง 18 อำเภอจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีงบประมาณ 2560 โดยมีต้นแบบของการดำเนินการของอำเภอไชยา มีสื่อในการดำเนินการคือหนังสือ “ไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนจากระดับอำเภอสู่จังหวัด” ที่เป็นตัวอย่างของอำเภอที่รับการถ่ายทอดฯ ที่มีความโดดเด่นของการทำงานเชิงเครือข่ายของกลุ่มคน 4 กลุ่มคือกลุ่มดำเนินการ กลุ่มทำงานศูนย์เฝ้าระวังที่มีการพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ กลุ่มผู้ใช้ข้อมูลในการนำข้อมูลสร้างความตระหนักหรือการตื่นตัวในพื้นที่ และกลุ่มผู้สนับสนุนทั้งเชิงนโยบายและงบประมาณ องค์ความรู้ใหม่มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อำเภอไชยา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ระดับอำเภอที่มีความสนใจในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก |
สาขาการวิจัย |
|
การถ่ายทอดเทคโนโลยีไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อ แก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.