ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ไวพจน์ ดวงจันทร์
เจ้าของผลงานร่วม พงษ์พิพัฒน์ สายทอง
คำสำคัญ สื่อปฎิสัมพันธ์;การถ่ายทอดภูมิปัญญา;การออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด
หน่วยงาน สาขาวิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ศึกษาภูมิปัญญาการออกแบบลวดลาย พัฒนาสื่อปฎิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญา การออกแบบลวดลายผ้าไหมขิดและทักษะปฎิบัติการทอผ้าขิดของเยาวชน พบว่า ลวดลายขิดที่มีความเหมาะสมที่สุดในการเริ่มต้นเรียนรู้ ประกอบด้วย ลายทาง 4 ตะกอ ลายดอกแก้ว 8 ตะกอ ลายแมงงอด 8 ตะกอ ลายดอกพิกุล 12 ตะกอ และลายกระตุ้มทอง 12 ตะกอ ผลการพัฒนาสื่อปฎิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด เยาวชนสามารถออกแบบลวดลายและทอผ้าไหมขิดได้การประเมินสื่อปฎิสัมพันธ์จากผู้เชี่ยวชายอยู่ในเกณฑ์คุณภาพ ระดับมาก และเยาวชนมีทักษะปฎิบัติการทอผ้าขิด ด้านการออกแบบลวดลาย ด้านการทอผ้าขิด ผลการทดสอบปฎิบัติการทอผ้ามีค่าร้อยละสูงกว่า ร้อยละ 50 ลำดับความถูกต้องจากมากไปหาน้อย คือ ลายดอกแก้ว ลายทาง ลายกระตุ้มทอง ลายดอกพิกุล และลายแมงงอด
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.rdi.ssru.ac.th/irdjournal/index.php/ISSN2229-2802/article/view/431/387
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิด ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง