ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาเอกลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้ง อําเภอพบพระ จังหวัดตาก เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จิราพร รอดคุ้ม |
เจ้าของผลงานร่วม | ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา , อุดมศักดิ์ สาริบุตร |
คำสำคัญ | เอกลักษณ์;ชาวเขาเผ่าม้ง;เครื่องประดับ;ลายก้นหอย |
หน่วยงาน | สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ลวดลายที่ใช้ปักลงบนเสื้อผ้าเผ่าม้งเป็นงานหัตถกรรมที่มีความโดดเด่น การประเมินหาเอกลักษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ลายก้นหอย ลวดลายที่เกิดจากเส้นตามธรรมชาติของสัตว์น้ำ ที่เกิดจากเส้นการวนของเปลือกหอยมีความเป็นเอกลักษณ์มากที่สุด เครื่องประดับควรมีความเรียบง่ายแต่คงความเป็นเครื่องเงินชาวเขา สวมใส่ได้จริงในชีวิตประจําวัน การออกแบบที่ดูทันสมัยมากขึ้น การประเมินการออกแบบชุดเครื่องประดับจากเอก ลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้งฯ สร้างแบบร่างโดยใช้ลวดลายก้นหอย จํานวน 30 รูปแบบ และใช้ทฤษฎีวิศวกรรมย้อนรอยในการตัดทอนรูปแบบชุดเครื่องประดับให้เหลือจํานวน 5 รูปแบบ นําไปเขียนโปรแกรม 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้รูปแบบเครื่องประดับมีความสมจริงมากที่สุด นําไปประเมินแบบโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน พบว่า เครื่องประดับรูปแบบที่ 1 (ดูรูปประกอบ) มีความเหมาะสมมากที่สุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://archmis.arch.nu.ac.th/arch_ajnu/journal/article_file/article_2016_128.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาเอกลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้ง อําเภอพบพระ จังหวัดตาก เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.