ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาวัคซีนดีเอนเอเพื่อป้องกันโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิล (Oreochromis niloticus)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เพียงฝัน อินทะแสง
เจ้าของผลงานร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิน สุรเชษฐพงษ์
คำสำคัญ ปลานิล;วัคซีนดีเอนเอ;โรคสเตรปโตคอคโคซิส;เชื้อสเตรปโตคอคโคซิส;อากาแลคติเอ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ปลานิลเป็นปลาที่มคีวามส าคัญทางเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย โดยประเทศไทยมีการ เลี้ยงปลานิลเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกจ านวนหนึ่ง การเลี้ยงปลานิลในประเทศมีหลายรูปแบบ ทั้งการเลยี้ งในบ่อ เลี้ยงแบบ กระชัง และในแหล่งน้ าตามธรรมชาติ แต่การเลี้ยงปลานิลยังพบปัญหาเชื้อก่อโรคที่มีทั้ง เชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียที่เป็นปัญหา และก่อให้เกิดความเสียหายในการเพาะเลี้ยงปลานิลมากทสีุ่ด คือ เชื้อ Streptococcus agalactiae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสเตรปโตคอคโคซิส การศึกษาครั้งนี้เริ่มจากการสรา้งวัคซีนดีเอนเอที่มียีนของโปรตีน Alp1 ซึ่งเป็นโปรตีนบนผิวเซลล์ของ S. agalactiae ท าการทดลองโดยแบ่ง ปลานิลออกเป็น 4 กลุ่มการทดลองดังนี้ 1. กลุ่มควบคุมฉีดสารละลายเกลือ (Phosphate buffer saline: PBS) 2. กลุ่มฉีดพลาสมิดเปล่า pcDNA 3.1 (+) ซึ่งไม่มีชิ้นสว่นของยีนสร้างโปรตีน Alp1 3. กลุ่มฉีดวัคซีนดีเอนเอ pcDNA-Alp1 และ 4. กลุ่มฉีดวัคซีนเชอ้ืตายส าหรับเชื้อ S. agalactiae ใช้เวลากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นทดสอบความต้านทานเชื้อ S. agalactiae ที่ความเข้มข้น 108 CFU สังเกต อาการเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทา การเก็บปลาตายหรือป่วยรุนแรงจากตู้เลี้ยงปลา และเพาะแยกเชื้อ การทดลองพบวา่ ปลากลมุ่ที่ 2, 3 และ 4 มี ค่าความสัมพันธ์อัตราการรอดตาย 26.6%, 51.4% และ 46.6% ตามล าดับ จากการเพาะเชื้อแบคทีเรียและย้อมสีแกรมพบว่าปลาทั้งหมดติด เชื้อ S. Agalactiae การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรตีน Alp1 จาก S. agalactiae ท าหน้าทใี่นการเป็นแอนติเจนได้ดี สามารถกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันในปลานิลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ S. agalactiae โดยอัตราการตายสะสมพบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองอื่น
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง