- ฐิติภา คูประเสริฐ
- 605 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เรวัต สุขสิกาญจน์ |
คำสำคัญ | ผลิตภัณฑ์จักรสาน;กระจูด;ตำบลเคร็ง;อำเภอชะอวด;นครศรีธรรมราช |
หน่วยงาน | สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ผลิตภัณฑ์จักรสานกระจูดเป็นผลิตภัณฑ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกระบวนการผลิตตั้งแต่การเตรียมกระจูดเพื่อจักรสาน การคัดขนาด การผึ่งแดด การย้อมสี และการสาน ลายสานที่นิยมกันโดยทั่วไป คือ ลายสอง รูปแบบของผลิตภัณฑ์จักรสาน แบ่งได้สองประเภท คือ 1. ประเภทดั้งเดิม ประกอบด้วยเสื่อและกระสอบ 2. ประเภทพัฒนาการส่งเสริม มีพัฒนาการ 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ 1.การนำเสื่อกระจูดมาเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เสริมด้วยกระดาษแข็งเข้าขอบและขึ้นรูปด้วยการกุ๊นริมด้วยผ้า เช่น กระเป๋าสุภาพสตรี 2. การขึ้นรูปด้วยการสานโดยใช้โครงสร้างในตัวเองยึดเกาะด้วยแรงขัด 3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบและประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการปรับปรุงตามแบบความคิดสร้างสรรค์ของชุมชนเอง ส่วนรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัสดุที่ผลิตจากธรรมชาติ ผสมผสานกับวัสดุสมัยใหม่ และมีส่วนร่วมในการคิดประยุกต์รูปแบบของผลิตภัณฑ์ด้วยตัวผู้บริโภคเอง ซึ่งทำให้การสืบสานหัตถกรรมท้องถิ่นอยู่คู่กับชีวิตของคนไทย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/download/27208/23119/ |
สาขาการวิจัย |
|
ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในจังหวัดนครศรีธรรมราช is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.