ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาเขมรถิ่นไทยจังหวัดศรีสะเกษ กับถิ่นสุรินทร์ บุรีรัมย์ จันทบุรี และฉะเชิงเทรา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พรชนก สีดาบุตร
เจ้าของผลงานร่วม สมทรง บุรุษพัฒน์
คำสำคัญ ระบบเสียง;ภาษาเขมรถิ่น;ภาษาเขมรถิ่นไทยจังหวัดศรีสะเกษ
หน่วยงาน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาเขมรถิ่นไทยในจังหวัดศรีสะเกษกับถิ่นสุรินทร์ บุรีรัมย์ จันทบุรี และฉะเชิงเทรา ที่มีผู้ศึกษาไว้ในอดีต วิธีการเปรียบเทียบแบบร่วมสมัย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสัทลักษณะของหน่วยเสียงในภาษาเขมร ถิ่นศรีสะเกษที่จะเกิดในอนาคต พบว่า ภาษาเขมรถิ่นไทยทั้ง 5 ถิ่นไม่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียงพยัญชนะในแต่ละถิ่นแตกต่างกันเฉพาะในแง่ของจำนวน จากการตีความเสียงพ่นลมของพยัญชนะต้น หน่วยเสียงพยัญชนะสะกด มีจำนวนใกล้เคียงกัน หน่วยเสียงสระมีความแตกต่างกันทั้งจำนวนและสัทลักษณะ ภาษาเขมรถิ่นศรีสะเกษมีจำนวนสระน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับถิ่นอื่น ไม่มีลักษณะน้ำเสียง และสัทลักษณะของสระ มีความคล้ายคลึงกับสระในถิ่นสุรินทร์และบุรีรัมย์มากกว่าถิ่นจันทบุรีและฉะเชิงเทรา หน่วยเสียงสระบางหน่วยเสียงไม่ปรากฏในภาษาเขมรถิ่นศรีสะเกษ บางหน่วยเสียงมีการแปรของสัทลักษณะ เพื่อการออกเสียงให้ง่ายขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะออกเสียงใกล้เคียงกับสระในภาษาไทย มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม http://journal.human.cmu.ac.th/ojs/index.php/human/article/view/226/204
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาเขมรถิ่นไทยจังหวัดศรีสะเกษ กับถิ่นสุรินทร์ บุรีรัมย์ จันทบุรี และฉะเชิงเทรา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง