- ศ. ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
- 419 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่ (The study of gingerbread house architectural style in Thailand, the case studies in Bangkok, Metropolitan and Phrae) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ภัทราวดี ศิริวรรณ |
เจ้าของผลงานร่วม | รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์ |
คำสำคัญ | สถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิง;กรุงเทพฯ;ปริมณฑล;จังหวัดแพร่ |
หน่วยงาน | คณะศิลปะศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงจาก 1) พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ กรุงเทพฯ 2) พระที่นั่งอภิเษกดุสิต กรุงเทพฯ 3) หมู่กุฏิขนมปังขิงวัดสวนพลู กรุงเทพฯ 4) พิพิธภัณฑ์สักทองวัดเทวะราชกุญชร กรุงเทพฯ 5) ตําหนักเพชรวัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ 6) พิพิธภัณฑ์บ้านเอกะนาค กรุงเทพฯ 7) เรือนพระธเนศวรในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 8) บ้านวงศ์บุรี จังหวัดแพร่ 9) คุ้มเจ้าหลวง จังหวัดแพร่ พบว่า ลักษณะลวดลายหงิกงออ่อนหวานกระจุ๋มกระจิ๋มเรียกว่า “ลวดลายขนมปังขิง” เป็นฝีมือช่างชั้นสูง ระดับคหบดีขึ้นไป นำมาตกแต่งเรือนพักอาศัย ซึ่งเป็นทั้งในส่วนของอาคารแบบเรือนไม้แบบชั้นเดียวและแบบสองชั้น อาคารแบบก่ออิฐถือปูนที่เป็นอาคารเดี่ยวและเป็นอาคารเรือนแถว อาคารขนมปังขิงที่งดงามที่สุดในพระนคร คือ พระที่นั่งวิมานเมฆในเขตพระราชวังดุสิต อาคารเดี่ยวเรือนไม้ขนาดใหญ่ 1-2 ชั้น ที่ตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/view/105357/83668 |
สาขาการวิจัย |
|