ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ตัวชี้วัดชนิดสีอย่างง่ายสำหรับการวัดการเกิดกลิ่นหืนในแคบหมู |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ธนพล กิจพจน์ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | Colorimetric indicator, Kaeb Moo, Rancidity, Frying products, Freshness monitoring |
หน่วยงาน | สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 087-3055533 |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | สิ่งประดิษฐ์นี้มีลักษณะเป็นตัวชี้วัดชนิดแถบสีอย่างง่ายเพื่อตรวจติดตามกลิ่นหืนที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์แคบหมู ผู้บริโภคสามารถสังเกตสีที่เปลี่ยนไปของตัวชี้วัดได้ง่าย โดยแถบสีนี้สามารถเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลืองผสมสีเขียวอ่อนในผลิตภัณฑ์แคบหมูที่เกิดกลิ่นหืน ตัวชี้วัดชนิดแถบสีนี้จะช่วยผู้บริโภครับรู้ความสดใหม่ของแคบหมูโดยไม่จำเป็นต้องแกะถุงบรรจุผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคแคบหมูที่เกิดกลิ่นหืน ซึ่งแคบหมูที่เกิดกลิ่นหืนจะมีสารเคมีที่เมื่อบริโภคไปแล้วจะสะสมในร่างกาย เช่น 4-hydroxy-2-nonenal (4-HNE) และ มาโลนไดอัลดีไฮด์ (malondialdehyde, MDA) และอาจนำไปสู่สาเหตุของการเกิดสารก่อมะเร็งในร่างกาย |
สาขาการวิจัย |
|
ตัวชี้วัดชนิดสีอย่างง่ายสำหรับการวัดการเกิดกลิ่นหืนในแคบหมู is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.