ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประเมินธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจากแหล่งกาเนิดมลพิษแบบกระจาย ในลุ่มน้ำห้วยหลวง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อริตา อินทสิน |
คำสำคัญ | ไนเตรท;ไนโตรเจนรวม;ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์;อินทรียวัตถุ |
หน่วยงาน | หลักสูตรสหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาการชะล้างธาตุอาหารจากแหล่งกำเนิดมลพิษแบบกระจายเป็นข้อมูลที่สาคัญในการจัดการปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำ การศึกษานี้ ทำการประเมินธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในลุ่มน้ำห้วยหลวง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารกับลักษณะธรณีสัณฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเก็บตัวอย่างดินในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 จานวน 98 สถานี ตามลักษณะธรณีสัณฐาน 5 ประเภท และการใช้ประโยชน์ที่ดิน 9 ประเภท และเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เฉพาะพื้นที่ต้นนา จำนวน 24 สถานี นำดินมาวิเคราะห์สมบัติดินทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินในลุ่มนาห้วยหลวงมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย (sandy-loam soil) ค่าความหนาแน่นและความพรุนอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ดินมีความเป็นกรดจัด (pH = 5.44 ± 0.81) อินทรียวัตถุและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ (ร้อยละ 0.99 ± 1.09 และ 4.72 ± 7.08 mg-P/kg) ไนโตรเจนอนินทรีย์ซึ่งเป็นรูปที่พืชนำไปประโยชน์ได้ ได้แก่ ไนเตรท-ไนโตรเจนและแอมโมเนีย-ไนโตรเจนมีค่า 18.3 ± 10.4 และ 51.8 ± 7.93 mg-N/kg ตามลำดับ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ พบว่า ขนาดอนุภาคทราย ทรายแป้ง และความเป็นกรด – ด่างในแต่ละลักษณะธรณีสัณฐานมีความแตกต่างกัน (p<0.05) เนื้อดิน ความเป็นกรด – ด่าง อินทรียวัตถุ และฟอสฟอรัส ในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความแตกต่างกัน (p<0.05) พบความสัมพันธ์ระหว่างฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์กับดินที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ (p<0.05) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในช่วงก่อนปลูกข้าวและระหว่างปลูกข้าว พบว่าปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน และไนโตรเจนรวมในช่วงก่อนปลูกข้าวสูงกว่าในช่วงระหว่างปลูกข้าว (p<0.05) เนื่องจากไนโตรเจนถูกชะล้างได้ง่าย โดยมีน้ำฝนเป็นปัจจัยหลัก |
สาขาการวิจัย |
|
การประเมินธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจากแหล่งกาเนิดมลพิษแบบกระจาย ในลุ่มน้ำห้วยหลวง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.