ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้เรื่องการรุกรับปรับตัวของชุมชนในพื้นที่ปลายน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เรวดี ประเสริฐเจริญสุข
เจ้าของผลงานร่วม นางสาวเกศินี แกว่นเจริญ , นางสาวรันธรณ์ แก้วทันคำ
คำสำคัญ การจัดการความรู้;การรุกรับปรับตัว;พื้นที่ปลายน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรี
หน่วยงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การจัดการความรู้เรื่องการรุกรับปรับตัวของชุมชนในพื้นที่ปลายน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรีท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นการถอดบทเรียนจากการดำเนินการวิจัยใน “โครงการศึกษาประเมินความเปราะบางและศักยภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี” โดยหยิบยกเอาประเด็น “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มาพัฒนาองค์ความรู้ตลอดจนการทำงานผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับในรูปแบบของสื่อ “อินโฟกราฟิกส์ และแผนที่ความเสี่ยงและความเปราะบาง” และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการในตำบลบ้านแหลมและตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี การประยุกต์นำใช้สื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์กับงานวิจัยที่มีความซับซ้อนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการส่งต่อองค์ความรู้ไปสู่กลุ่มประชาชนทั่วไปให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ด้วยเป็นการสื่อสารผ่านภาพประกอบตลอดจนการใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดของรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ ที่เน้นในเรื่องความกระชับ ใช้ภาพสื่อความหมายที่ชัดเจน แต่หากต้องการสื่อสารงานวิจัยเชิงวิชาการที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ก็ควรเลือกใช้สื่อที่มีความหลากหลายขึ้นเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้หลายช่องทาง และทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง การจัดทำข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้แผนที่ความเสี่ยงและความเปราะบางมาเป็นเครื่องมือในการทำงานเผยแพร่ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับชุมชน จะช่วยให้ชุมชน หน่วยงานราชการและท้องถิ่นเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เผชิญอยู่ และนำสู่การดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ส่งผลดีในการสร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนั้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มาจากงานวิจัยหรืองานวิชาการจึงต้องมีการพัฒนารูปแบบของสื่อ เครื่องมือ วิธีการและช่องทางการถ่ายทอดที่หลากหลายเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า องค์ความรู้ที่ต้องการถ่ายทอดนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง และหากเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ที่รับองค์ความรู้ได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการจริง ยิ่งเป็นการสร้างหลักประกันว่า ผู้ที่รับองค์วามรู้มีความเข้าใจในประเด็นที่ผู้ถ่ายทอดต้องการสื่อสาร รวมทั้งกระบวนการทำงานผ่านการเรียนรู้ร่วมกับภาคีที่หลากหลายถือเป็นการยกระดับกระบวนการเรียนรู้ และการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทำงานกับทั้งหน่วยงานและชุมชน อันเป็นหลักประกันทำให้เกิดการพัฒนางานที่ยั่งยืนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดียิ่ง.
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


การจัดการความรู้เรื่องการรุกรับปรับตัวของชุมชนในพื้นที่ปลายน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.