- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- 344 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะมีค่าในระดับนาโนเมตรด้วยเทคนิคการดูดซัดด้วยไฟฟ้าสถิตเข้มข้น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กลยุทธ ปัญญาวุธโธ |
คำสำคัญ | ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ;เทคนิคการดูดซัดด้วยไฟฟ้าสถิต |
หน่วยงาน | ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0 5394 4146 โทรสาร 0 5394 4145 E-mail: konlayutt.p@cmu.ac.th |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะมีค่าในระดับนาโนเมตร ด้วยเทคนิคการดูดซัดด้วยไฟฟ้าสถิตเข้มข้น เป็นผลงาน ที่นำเสนอเทคนิคและกระบวนการในการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้ได้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะมีค่า เช่น Pt, Pd, Ru, Rd เป็นต้น ให้มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2-5 นาโนเมตรบนตัวรองรับ ทำให้มีพื้นที่ผิวจำเพาะในการทำปฏิกิริยาเคมีที่มากกว่า และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์จากเทคนิคนี้ ได้รับทดสอบเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน และ มีอายุการใช้งานที่มากกว่า โดยทั่วไปตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะมีค่าได้รับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพอลิเมอร์ อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ อุตสาหกรรมรถยนต์ (ท่อไอเสีย) อุตสาหกรรมการผลิตยาและสารเคมี เป็นต้น สำหรับประเทศไทย เรานำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะมีค่า 100% ซึ่งมีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาทต่อปี |
สาขาการวิจัย |
|
ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะมีค่าในระดับนาโนเมตรด้วยเทคนิคการดูดซัดด้วยไฟฟ้าสถิตเข้มข้น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.