ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การเลือกฝูงในปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จันทิมา ปิยะพงษ์ |
คำสำคัญ | การเลือกฝูง;ปลาตะเพียนขาว;พฤติกรรม |
หน่วยงาน | ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | จากทฤษฎีคาดการณ์ว่า ปลาจะเลือกอยู่กับฝูงจากพื้นฐานของการมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกล่าและเพิ่มประสิทธิภาพในการหาอาหาร โดยทั่วไปปลาที่อยู่เป็นฝูง มีสมาชิกที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างน้อยลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ เช่น ชนิด เพศ ฟีโนไทป์ ภาวะทางปรสิต ความคุ้นเคย ความเป็นเครือญาติ โดยศึกษาพฤติกรรมการเลือกฝูงโดยใช้การทดสอบแบบสองทางเลือก (binary choice) ในห้องปฏิบัติการของปลาตะเพียนขาวที่เป็นปลาทดสอบ ระหว่างฝูงปลากระตุ้นชนิดเดียวกันและฝูงปลากระตุ้นต่างชนิดกัน ได้แก่ ปลานิล และปลายี่สกเทศ ตั้งสมมติฐานว่า ปลาตะเพียนขาวจะเลือกฝูงปลาชนิดเดียวกันมากกว่าต่างชนิดกันและเลือกปลากระตุ้นในวงศ์เดียวกัน (ปลายี่สกเทศ) มากกว่าต่างวงศ์กัน (ปลานิล) พบว่า ปลาตะเพียนขาวที่เป็นปลาทดสอบเลือกฝูงปลาที่เป็นชนิดเดียวกันมากกว่าต่างชนิดกันและเลือกฝูงปลาที่เป็นวงศ์เดียวกันมากกว่าต่างวงศ์กัน ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/download/10191/8525 |
สาขาการวิจัย |
|