ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรคดื้อยาหลายขนานและระยะเวลาเริ่มรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทย |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ดร.ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ,
นพ.เจริญ ชูโชติถาวร ,
รศ.ดร.นพ.วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร |
คำสำคัญ |
วัณโรคดื้อยาหลายขนาน;ปัจจัยเสี่ยง;ความล่าช้าในการรักษา |
หน่วยงาน |
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ |
2558 |
คำอธิบาย |
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่การศึกษานี้ทำการศึกษาในสถาบันโรคทรวงอกและจังหวัดที่มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) สูงสุด 10 อันดับแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2555 ในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาในสูตร Second line drug จำนวน 100 ราย วัณโรค 268 ราย ตามลำดับ พบว่าการปัจจัยการเคยมีประวัติรักษาวัณโรคมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เมื่อควบคุมปัจจัยทางด้านการสูบบุหรี่ ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่กลับพบว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานเมื่อควบคุมปัจจัยทางด้านการมีประวัติการรักษาวัฌโรคมาก่อนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่ สำหรับระยะเวลาในการเริ่มรักษาวัณโรค พบว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการของวัณโรคจนถึงการเข้ารับบริการหรือขอคำปรึกษาครั้งแรกที่สถานบริการทางด้านสุขภาพคือ 30 วันสำหรับระยะเวลาตั้งแต่ขอรับคำปรึกษาหรือบริการครั้งแรกที่สถานบริการทางด้านสุขภาพจนถึงวันที่ได้รับการรักษาวัณโรค พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคทั่วไปกับผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
การเคยมีประวัติเคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ปัจจุบันเลิกดื่มแล้ว และการมีหลักประกันสุขภาพล้วนเป็นปัจจัยป้องกันความล่าจากตัวผู้ป่วยเองเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ในขณะที่การติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานมีโอกาสเสี่ยงที่ล่าช้าจากผู้ให้บริการเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป เมื่อควบคุมปัจจัยการที่ผู้ป่วยมีอาการไอ |
สาขาการวิจัย |
-
วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ
|