ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทลื้อในสิบสองปันนา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พรเพ็ญ ตันประเสริฐ
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ ไทลื้อ;ระบบเสียงวรรณยุกต์;สิบสองปันนา
หน่วยงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษานี้กำหนดจุดเก็บข้อมูลภาษาไทลื้อที่พูดกระจายอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน รวม 28 หมู่บ้าน จากผู้บอกภาษาหมู่บ้านละ 1 คน โดยใช้ตารางคำทดสอบเสียงวรรณยุกต์ของ วิลเลียม เจ เก็ดนีย์ พบว่า ภาษาไทลื้อในแคว้นสิบสองปันนา มีจำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง และ 7 หน่วยเสียง มีระบบเสียงวรรณยุกต์และลักษณะวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 4 แบบ สามารถจัดกลุ่มภาษาไทลื้อจากการรวมตัวและการแตกตัวของวรรณยุกต์ได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 แบบ A 1234 BCD 123-4, กลุ่มที่ 2 แบบ A 1234 BD 123-4 C 1-234, กลุ่มที่ 3 แบบ ABCD 123-4 และกลุ่มที่ 4 แบบ ABD 123-4 C 1-234 กลุ่มที่มีผู้พูดมากที่สุดคือ กลุ่มที่ 4
ข้อมูลเพิ่มเติม https://research.dru.ac.th/e-journal/file/2015_02_17_125738.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง