ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาฤทธิ์ของไคร้หางนาคต่อเนื้องอกกลัยโอบลาสโตมา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง จาตุรนต์ ขวัญทองดี
เจ้าของผลงานร่วม ChotchanitSunrat, BamroongMunyoo, PatoomratanaTuchinda, NapasonChabang, WitchudaSaengsawang
คำสำคัญ Anticancer, Glioblastoma, Invasion, Microtubules, P. taxodiifolius
หน่วยงาน ภาควิชา สรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย กลัยโอบาสโตมา (glioblastoma) เป็นมะเร็งสมองที่มีความรุนแรงส่งผลให้ผู้ที่เป็นมะเร็งชนิดนี้มีอายุเฉลี่ยประมาณ 1 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคและมีโอกาสหายไม่ถึงร้อยละ 20 ซึ่งความรุนแรงของโรคเกิดจากลักษณะเด่นของเซลล์ชนิดนี้คือ การรุนราน (invasion) ของเซลล์ไปยังเนื้อเยื่อสมองส่วนอื่น โดยการยับยั้งการรุนรานของเซลล์มะเร็งเป็นวิธีหนึ่งสำหรับการรักษาเพื่อยืดอายุผู้ป่วย การรุกรานของเซลล์มะเร็งเป็นกระบวนการซับซ้อนโดยอาศัยการทำงานของโครงสร้างเซลล์(cytoskeleton) โดยเฉพาะไมโครทิวบิล (microtubule) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์มะเร็งในทุกขั้นตอนของการรุกราน ปัจจุบันโมเลกุลนี้จึงเป็นเป้าหมายสำหรับการรักษามะเร็ง ถึงแม้ว่ามีงานวิจัยที่หาสารมาจับและรบกวนการทำงานของไมโครทิวบิลได้ก็ตามแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องค้นหาสารชนิดใหม่มาใช้ในการรักษา ไคร้หางนาค (Phyllanthus taxodiifolius beille) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ พบในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากรายงานการวิจัยมีการกล่าวถึงฤทธิ์ของสารสกัดไคร้หางนาค ว่าสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ในมะเร็งสมองรวมทั้งยังไม่ได้อธิบายกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดชนิดนี้ จากการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากต้นไคร้หางนาคต่อมะเร็งสมองชนิดกลัยโอบลาสโตมา สารสกัดดังกล่าวมีความสามารถยับยั้งการยึดเกาะ การเคลื่อนที่ และการรุกรานของเซลล์มะเร็งสมองชนิดกลัยโอบลาสโตมาของหนู (rat: C6 และ ASK) ซึ่งฤทธิ์ของสารสกัดดังกล่าวมีกลไกการทำงานคือ การรบกวนการทำงาน โครงสร้าง และ พลวัตร ของโครงสร้างเซลล์ชนิดไมโครทิวบูล รวมทั้งยับยั้งการก่อตัวของโมเลกุลยึดเกาะชนิด (Focal adhesion)ในเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิดนี้ ซึ่งผลงานการวิจัยชิ้นนี้ถูกนำไปเผยแพร่โดยการนำไปตีพิมท์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ ( journal of biomedicine & pharmacotherapy )
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0753332218375383?via%3Dihub
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง