- นายอัฏฐพล อิสสระ
- 1004 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลการเปิดแถบบันทึกเสียงแม่สุกรเรียกลูกดูดนมต่อพฤติกรรมและสมรรถภาพในการผลิตของลูกสุกรหย่านมที่ไม่ใช่ลูกตัวเอง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สินีนาฎ พลแสง |
เจ้าของผลงานร่วม | พงศ์เทพ พลแสง , สุวิทย์ อินฉายา |
คำสำคัญ | ลูกสุกรหลังหย่านม;เสียงแม่สุกร;พฤติกรรมการดุนหรือดูดท้อง;ตัวอื่นของลูกสุกรหลังหย่านม |
หน่วยงาน | วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยโสธร |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก โดยแต่ละครอกคือ บล็อก ใช้ลูกสุกรหย่านมอายุ 24 วัน 12 ครอก ๆ ละ 9 ตัว แบ่งเป็นทรีตเมนต์ที่ 1 หย่านมลูกสุกรที่คอกอนุบาล และเปิดแถบบันทึกเสียงแม่สุกรเป็นเวลา 3 วัน ๆ ละ 5 ครั้ง ๆ ละ 1 นาทีก่อนการให้อาหาร ทรีตเมนต์ที่ 2 ลูกสุกรอยู่ซองคลอดเดิม 3 วัน จึงย้ายไปคอกอนุบาล และทรีตเมนต์ที่ 3 ลูกสุกรอยู่คอกอนุบาล โดยทรีตเมนต์ที่ 2 และ 3 ไม่ได้ฟังเสียงแม่สุกร ในคอกทดลอง ลูกสุกรไม่สามารถได้ยินเสียงจากแม่ตัวอื่น การให้อาหารอย่างเต็มที่ เวลา 06.00, 09.00, 12.00, 15.00 และ 18.00 น. บันทึกความถี่การเกิดพฤติกรรมวันที่ 2, 7, 10 และ 14 ของการหย่านม พบว่า พฤติกรรมการดุนหรือดูดท้องลูกสุกรตัวอื่นและค่าร้อยละต่อเวลาทั้งหมดที่สังเกต อายุ 2 และ 7 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การดุนผิวหนังลูกสุกรตัวอื่น ค่าร้อยละต่อเวลาทั้งหมดที่สังเกต และน้ำหนักตัวของลูกสุกร (อายุ 0-1 สัปดาห์) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งการหย่านมแบบเปิดเสียงแม่ ขณะเรียกลูกดูดนมให้ลูกสุกรหย่านมฟัง ถึงแม้จะไม่ใช่เสียงแม่ตัวเองก็ตาม จะสามารถทดแทนความคุ้นเคยของการอยู่คอกเดิมของลูกสุกรได้และลูกสุกรมีความเครียดน้อยกว่าการหย่านมอยู่คอกอนุบาลแบบไม่เปิดเสียงแม่ให้ฟัง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://drive.google.com/file/d/1puvvHLQo42D-UrUsr3vmL4-zmFUTuFYR/view |
สาขาการวิจัย |
|
ผลการเปิดแถบบันทึกเสียงแม่สุกรเรียกลูกดูดนมต่อพฤติกรรมและสมรรถภาพในการผลิตของลูกสุกรหย่านมที่ไม่ใช่ลูกตัวเอง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.