- ณัฐวุฒิ จันทร์แป้น
- 295 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของชนิดและอัตราของปูนต่อมันสำปะหลังที่ปลูกบนดินยโสธร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จีรวรรณ พรหมมา |
เจ้าของผลงานร่วม | สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม , ศุภิฌา ธนะจิตต์ , เอิบ เขียวรื่นรมณ์ , ปรีชา เพชรประไพ |
คำสำคัญ | มันสำปะหลัง;หินปูนบด;ปูนโดโลไมต์;ดินยโสธร |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ศึกษาการตอบสนองต่อชนิดและอัตราของปูนของมันสำปะหลังที่ปลูกบนดินยโสธร โดยพิจารณาจากการให้ผลผลิต และความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบ ทำการทดลองในแปลงของเกษตรกร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ระยะเวลา 2 ปี ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block 7 ตำรับการทดลองได้แก่ ตำรับที่ 1 (NL) ไม่มีการใส่ปูน ตำรับที่ 2-4 (GL1, GL2 และ GL3) ใส่หินปูนบดอัตรา 100, 200 และ 300 กก./ไร่ และตำรับที่ 5-7 (DL1, DL2 และ DL3) ใส่ปูนโดโลไมต์ อัตรา 100, 200 และ 300 กก./ไร่ ตามลำดับ ทุกตำรับได้รับปุ๋ยหลักสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง จำนวนเท่ากัน ที่อายุ 2 และ 4 เดือนหลังปลูก ผลผลิตหัวสด ผลผลิตแป้ง และชีวมวลส่วนเหนือดินของมันสำปะหลังในปีที่ 2 มีค่าสูงกว่าในปีแรกทุกตำรับ ในปีแรกพบว่า การใส่ปูนโดโลไมต์อัตรา 300 กก./ไร่ ให้ผลผลิตหัวมันสดสูงสุดเท่ากับ 2.67 ตัน/ไร่ รองลงมาได้แก่ การใส่ปูนโดโลไมต์ อัตรา 100 กก./ไร่ ให้ผลผลิตหัวมันสด 2.13 ตัน/ไร่ ในปีที่สอง การใส่หินปูนบดอัตรา 300 กก./ไร่ ให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเท่ากับ 4.28 ตัน/ไร่ รองลงมาได้แก่ การใส่ปูนโดโลไมต์อัตรา 300 กก./ไร่ ทำให้ได้ผลผลิตหัวสด 4.11 ต้น/ไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปูน การใส่หินปูนบดอัตรา 300 กก./ไร่ ทำให้ผลผลิตแป้งสูงสุดเท่ากับ 1.32 ตัน/ไร่ ซึ่งสูงกว่าตำรับที่ไม่ใส่ปูน สำหรับน้ำหนักส่วนเหนือดินทั้งหมดให้ผลในทิศทางที่คล้ายคลึงกับน้ำหนักใบและกิ่งก้าน และมีความสัมพันธ์กับผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=03-Jeerawan.pdf&id=619&keeptrack=20 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของชนิดและอัตราของปูนต่อมันสำปะหลังที่ปลูกบนดินยโสธร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.