ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | กลยุทธ์การอนุรักษ์ควายไทย ชุมชนหนองเทิง ตำบลหนองแวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สาคร ส่งเสริม |
เจ้าของผลงานร่วม | ศักดิ์พงศ์ หอมหวล , อุทัย โคตรดก , เหล็กไหล จันทบุตร |
คำสำคัญ | การจัดการ;กลยุทธ์ และ การอนุรักษ์ควายไทย |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การเปลี่ยนแปลงการดำรงอยู่ของควาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ กระบวนการผลิตข้าว รูปแบบการเลี้ยงควาย และอื่นๆ โดยแบ่งเป็น 4 ยุค ได้แก่ 1) ยุคเกษตรกรรม (ก่อนปี 2509) 2) ยุคยาสูบ (ปี 2522) 3) ยุคควายหนีนา (ปี 2530-2536) และ 4) ยุคฟื้นฟูควาย (ปี 2553) จากมุมมองเชิงระบบควายดำรงอยู่ร่วมกันภายใต้พื้นที่สาธารณะของชุมชน ทุ่งนา น้ำและข้าว เรียกว่า ระบบนิเวศน์วิถีควาย เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อกันอย่างสัมพันธ์ กลยุทธ์การสร้างสำนึกผ่านหลักการทำบุญทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นส่งผลให้จำนวนควายในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้น ภายใต้ความเชื่อเรื่องการไถ่ชีวิตควายคือ ความเอื้ออาทรต่อชีวิตผู้อื่นเสมือนชีวิตตนอย่างผูกพัน ความเชื่อ วัฒนธรรมท้องถิ่นระหว่างคน ควาย และข้าว เป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อผู้มีพระคุณ ควายช่วยลดพฤติกรรมการใช้สารเคมี เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายภายนอกและเป็นสื่อถักทอความสัมพันธ์ เพื่อการแบ่งปันตามวิถีชุมชน การขับเคลื่อนกลยุทธ์การพัฒนา จัดการการดำรงอยู่ร่วมภายใต้ระบบนิเวศน์วิถีควายได้อย่างเกื้อกูล ปุ๋ยคอกช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดรายจ่ายครัวเรือน จากการใช้แก๊สชีวภาพมูลควาย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://paj.rmu.ac.th/journal/home/journal_file/57.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
กลยุทธ์การอนุรักษ์ควายไทย ชุมชนหนองเทิง ตำบลหนองแวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.