ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ควายน้ำ : วงจรชีวิตที่เปลี่ยนไปท่ามกลางกระแสสังคม
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เสาวลักษณ์ เล็กประเสริฐ
เจ้าของผลงานร่วม พิมพ์ประภา แป้นเส้ง , เสาวลักษณ์ ปานรังษี , สุนิษา ศรีสุวรรณ , นุชจรี เหมโก , ตันติกร ตั้นตระกูล , จุรีรัตน์ บัวแก้ว
คำสำคัญ ควายน้ำ;วงจรชีวิต;กระแสสังคม
หน่วยงาน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย เดิมควายถูกเลี้ยงไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานในการทำเกษตรกรรมของคนบ้านขาว ผู้เลี้ยงจะปล่อยควายออกจากคอกในเวลาเช้า เพื่อให้ควายหากินหญ้าบริเวณป่าพรุ และต้อนควายกลับเข้าคอกในเวลาเย็น ต่อมาควายถูกปรับเปลี่ยนจากการเลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงานมาเป็นการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง วิธีการเลี้ยงจึงแตกต่างจากเดิม มีการดูแลควายตั้งแต่เริ่มปล่อยออกจากคอกในตอนเช้าตรู่จนกระทั่งต้อนควายกลับเข้าคอก สะท้อนให้เห็นรูปแบบการเลี้ยงควายที่เน้นการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ผู้เลี้ยงจะขายควาย เมื่อมีความจำเป็นด้านการเงิน โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อในราคาตั้งแต่ตัวละ 10,000 บาทขึ้นไป เมื่อเกิดการบุกรุกพื้นที่ของนายทุน เพื่อสร้างแหล่งเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่เลี้ยงควายน้อยลง ส่งผลให้หลายๆ ครัวเรือน เลิกเลี้ยงควายในที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นแนวโน้มของคนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงควายจะลดลงเรื่อยๆ อาจต้องจบอาชีพนี้ลงในอนาคตอันใกล้ วงจรชีวิตของควายน้ำจึงถูกปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม ภาพของควายกินหญ้าในป่าพรุ อาจไม่มีให้คนรุ่นหลังได้เห็นอีกต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม http://fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-55-1/8.pdf
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง