ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประเมินความทนทานต่อความแห้งแล้งของประชากรข้าวผสมกลับสุรินทร์ 1
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง จุรัรัตน์ ภาวงศ์
เจ้าของผลงานร่วม บุญรัตน์ จงดี , เกรียงไกร พันธุ์วรรณ์ , สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์
คำสำคัญ ข้าว;สภาพแล้ง;ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;ประเมินพันธุ์ทนแล้ง
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย พื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน ผลผลิตมีความแปรปรวนกว่าภูมิภาคอื่น เหตุผลที่สำคัญประการหนึ่ง คือ สภาวะแล้งที่มีโอกาสเกิดขึ้นในทุกระยะเวลาคือ ต้น กลาง และปลายฤดูปลูก อย่างไรก็ตามพบว่าแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูปลูก มีผลกระทบต่อผลผลิตมากกว่าแล้งที่เกิดในระยะอื่น ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพแล้งจึงเน้นที่ความทนแล้ง ในช่วงปลายฤดูหรือระยะออกดอกของข้าว เพื่อลดความเสียหายของผลผลิต ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ประชากรข้าวดังกล่าวจำนวน 90 สายพันธุ์ ได้นำมาประเมินความทนทานต่อสภาพแล้งในระยะ ออกดอกในแปลงทดสอบในฤดูนาปี 2549 การประเมินดำเนินการใน 2 สภาพคือ 1) สภาพน้ำสมบูรณ์ตลอดฤดูปลูกและ 2) สภาพแล้งในระยะออกดอก โดยการระบายน้ำออกเมื่อถึงระยะกำเนิดช่อดอก เพื่อชักนำให้เกิดการขาดน้ำ ในช่วงข้าวออกดอก ผลการทดลองพบว่า ในสภาพแล้งระดับความรุนแรงโดยประเมินจากผลผลิตเฉลี่ยในสภาพแล้งที่ลดลงถึง 91% เปรียบเทียบกับสภาพน้ำสมบูรณ์และค่าศักย์ของน้ำที่ใบเฉลี่ยที่ 40 วันหลังจากระบายน้ำออก -19.1 Pa เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเมล็ดดีในสภาพแล้งลดลง 48% จำนวนรวงต่อกอ และความสูงในสภาพแล้งโดยเฉลี่ยลดลง มีการชะลอการออกดอกในสภาพแล้ง
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=03-Jureerat.pdf&id=809&keeptrack=9
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การประเมินความทนทานต่อความแห้งแล้งของประชากรข้าวผสมกลับสุรินทร์ 1 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง