- รองศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ
- 1225 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาฟอสโฟโปรติโอมิกของพยาธิใบไม้ในเลือด Schistosoma mekongi เพศผู้และเพศเมีย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ณัฐพล สีมานนท์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร. อรภัค เรี่ยมทอง |
คำสำคัญ | PHOSPHOPROTEOMICS;SCHISTOSOMA MEKONGI;MASS SPECTROMETRY |
หน่วยงาน | ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน, มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ชุกโรคของโรคพยาธิใบไม้ในเลือดสายพันธุ์แม่โขง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้เลือดชนิด Schistosoma mekongi ประชากรมากกว่า 7 หมื่นรายในพื้นที่ใกล้แม่น้ำโขงในประเทศลาวและกัมพูชามีความเสี่ยงที่จะติดโรคดังกล่าว ทั้งนี้ไข่ของพยาธิใบไม้เลือดมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรค ปัจจุบันนี้ พราซิคอนเทล (praziquantel: PZQ) เป็นยาชนิดเดียวที่นำมาใช้ในการรักษาและควบคุมการเกิดโรคพยาธิใบไม้ในเลือด จากการใช้ยาชนิดนี้มายาวนานและปริมาณที่ใช้ต่อครั้งสูง อาจทำให้เกิดการดื้อยาขึ้นได้ ดังนั้นการพัฒนายาใหม่เพื่อต้านพยาธิใบไม้เลือดจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง กระบวนการฟอสโฟริเลชัน มีความสำคัญในการควบคุมการทำงานภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการส่งสัญญาณภายในเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ ในปัจจุบันเทคนิคแมสสเปกโตรเมทรีถูกพัฒนาขึ้นเพื่อศึกษาฟอสโฟริเลชันของตัวอย่างชีวภาพ ฟอสโฟโปรตีนของพยาธิใบไม้ในเลือดที่เกี่ยวข้องกับการออกไข่อาจเป็นโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนายา งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาโปรตีนและฟอสโฟโปรตีนของพยาธิเพศผู้และเพศเมียที่มีการแสดงออกที่แตกต่างกันโดยเทคนิคแมส- สเปกโตรเมทรี นอกจากนี้เทคนิคเนื้อเยื่อวิทยาเคมีถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาอวัยวะของพยาะที่ถูกเติมฟอสเฟตอีกด้วย ผลการทดลองพบว่าโปรตีนและฟอสโฟโปรตีนของพยาธิเพศผู้และเพศเมียมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน และเนื้อเยื่อของพยาธิเพศผู้จะพบฟอสโฟเซอรีนในบริเวณผิวลำตัว และกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่เนื้อเยื่อของพยาธิเพศเมียจะพบฟอสโฟเซอรีนมากที่บริเวณทางเดินอาหารและเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไข่ ผลการแสดงออกของฟอสโฟโปรตีนที่แตกต่างกันระหว่างพยาธิเพศผู้และเพศเมียสามารถนำไปสู่การเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานเกี่ยวกับ การพัฒนาการ, การผลิตและวางไข่ของพยาธิเพศเมีย ซึ่งจากผลของการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนายาหรือวัคซีนสำหรับต้านการติดเชื้อจากโรคพยาธิใบไม้เลือดได้ในอนาคตต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.nature.com/articles/s41598-019-46456-6 |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาฟอสโฟโปรติโอมิกของพยาธิใบไม้ในเลือด Schistosoma mekongi เพศผู้และเพศเมีย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.