- กชกร ศรีแก้วเมือง
- 958 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การวิเคราะห์โครงสร้างคำเรียกชื่ออาหารภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ชนกพร อังศุวิริยะ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | คำเรียกชื่ออาหาร;การวิเคราะห์โครงสร้าง |
หน่วยงาน | ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจำนวน 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 15-25 กลุ่มอายุ 35-45 และกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป กลุ่มอายุละ 3 คน ในแต่ละชุมชน รวมทั้งสิ้น 81 คน แต่ละกลุ่มอายุจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ชุมชนท้องถิ่นไทยดั้งเดิม ชุมชนไทยเชื้อสายมาเลย์ และชุมชนไทยเชื้อสายจีน พบว่า โครงสร้างของคำเรียกชื่ออาหารจำแนกเป็นคำหลักได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ประเภทของอาหาร เช่น แกง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น 2.วิธีการประกอบอาหาร เช่น ต้ม ตุ๋น นึ่ง ผัด เป็นต้น 3.วัตถุดิบในการประกอบอาหาร เช่น ปลาหมึก กุ้ง เนื้อ ขาหมู ไข่ เป็นต้น และ 4.ลักษณะของอาหาร เช่น ฝอยทอง เปียกปูน เป็นต้น ซึ่งในแต่ละกลุ่มยังจำแนกเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามการประกอบร่วมกับคำหลัก เช่น คำหลักประเภทของอาหาร คำว่า แกง ประกอบร่วมกับวิธีการประกอบอาหารเป็น แกงคั่ว และคำว่า แกง ประกอบร่วมกับส่วน ประกอบอาหารเป็น แกงไก่ เป็นต้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-vol6-no1/2-Word%20structure%20analysis.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การวิเคราะห์โครงสร้างคำเรียกชื่ออาหารภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.