ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพารา และเถาวัลย์ในจังหวัดสงขลา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พีรพงษ์ พันธะศรี
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ เครื่องปั้นดินเผา;ไม้ยางพารา;เถาวัลย์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย พืชประเภทเครือเถาที่มีในท้องถิ่นมีคุณค่าความงามในหลายด้าน เช่น พื้นผิว ลีลา หรือเส้น และการบิดพัน เครือเถาวัลย์ได้เข้ามามีบทบาทในงานศิลปะประเภทสถาปัตยกรรม และศิลปประยุกต์ การนำไม้ยางพารามาใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ผู้วิจัยเลือกใช้ไม้ยางพาราที่ผ่านการใช้งานแล้ว เช่น ไม้พาเลท เนื่องจากมีราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น แรงบันดาลใจในการออกแบบ คือ แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น พืชและสัตว์ในท้องถิ่น และแรงบันดาลจากรูปทรงผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมของชาวสทิงหม้อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประกอบ ไม้ยางพาราและเถาวัลย์ ในครั้งนี้ ด้านการพัฒนาดินให้สอดคล้องกับเทคนิคการเผาของผู้วิจัยในโครงการวิจัยเรื่อง เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพาราและเถาวัลย์ในจังหวัดสงขลา สรุปได้ว่า ดินที่ผสมตามสัดส่วน ดินพื้นบ้าน :ดินเชื้อ ในอัตราส่วน 70 : 30 สามารถคงรูปได้เมื่อนำไปเผาแล้วทนความร้อน ไม่แตกหัก สามารถขึ้นรูปด้วยรูปทรงที่ซับซ้อนได้ และใช้งานได้จริง กรรมวิธีการผลิตสามารถผลิตได้โดยช่างพื้นบ้าน นำไปต่อยอดเพื่อการผลิตและจำหน่ายได้
ข้อมูลเพิ่มเติม http://ird.skru.ac.th/RMS/file/8996.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพารา และเถาวัลย์ในจังหวัดสงขลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง