ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | รู้จัก พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง |
คำสำคัญ | พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ |
หน่วยงาน | คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ....ผ่านการเห็นชอบโดย สนช. ในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดงานเสวนา “เจาะลึก พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์’62 คุ้มกันหรือควบคุมพื้นที่ออนไลน์” โดยตามระยะเวลาการร่าง พ.ร.บ. เริ่มตั้งแต่ปี 2557 และมีประเด็นที่เกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักในเรื่อง “ซิงเกิล เกตเวย์” จนต้องรีบกลับมาแก้ร่างใหม่ ปัจจุบันชุดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบดิจิทัลของประเทศไทย ประกอบไปด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ.คอมพ์ และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งสามกฎหมายนี้เน้นบังคับใช้ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน พื้นฐานสำคัญของหลักความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ คือหลักการ CIA (Confidentiality, Integrity, Availability) หรือหลักการเข้าถึงข้อมูลไม่รั่วไหล ข้อมูลถูกต้องไม่มีการแก้ไขโดยผู้อื่นและความพร้อมในการใช้งานหรือเข้าถึงข้อมูล ดังนั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงเป็นความพยายามที่จะรักษาระดับมาตรฐานไอทีของประเทศให้มีความปลอดภัย มั่นคง และป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งมีการกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. และมีการแบ่งภัยคุกคามออกเป็นระดับต่างๆ ตามความรุนแรง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.chula.ac.th/cuinside/17532/ |
สาขาการวิจัย | - |
รู้จัก พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.