ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง โขน : ศิลปะประจำชาติไทยและสื่อวัฒนธรรมในบริบทสังคมร่วมสมัย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ โขน;ศิลปะประจำชาติไทย;สื่อวัฒนธรรม;สังคมร่วมสมัย
หน่วยงาน สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ และผู้ชมการแสดง การแสดงโขนของไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศในภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยนำมาผสมผสานกันจนกลายเป็นโขนที่เริ่มแรกแสดงในราชพิธีสำคัญ ต่อมาโขนมีการพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามกระแสของวัฒนธรรมในสมัยนั้น ๆ แต่ยังคงรูปแบบ วิธีการแสดง และเรื่องที่ใช้แสดงคือเรื่องรามเกียรติ์เช่นเดิม การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เห็นได้จากการแสดงโขนจากเดิมที่ปรากฏหลักฐาน ได้แก่ โขนกลางแปลง โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป จึงได้มีวิวัฒนาการ พัฒนา ผสมผสานจนกลายเป็นโขนที่แสดงอยู่ในปัจจุบัน แบ่งประเภทตามหน่วยงานที่เป็นผู้จัดแสดง คือ โขนกรมศิลปากร โขนตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ข้อมูลเพิ่มเติม ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/3932/Thapanee_S.pdf?sequence=1
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


โขน : ศิลปะประจำชาติไทยและสื่อวัฒนธรรมในบริบทสังคมร่วมสมัย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง