- ธีระพงษ์ มีไธสง
- 407 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | จ้ำบ๊ะ: วัฒนธรรมการกินน้ำแข็งไสของคนไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รสสุคนธ์ มกรมณี |
คำสำคัญ | จ้ำบ๊ะ;วัฒนธรรมการกินน้ำแข็งไส |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ผลการวิจัยพบว่า 1) คำว่า “จ้ำบ๊ะ” มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “จัมบะ” โดย ป. อินทรปาลิต เป็นคนแรกที่นำคำนี้มาใช้ในภาษาเขียน โดยสะกดคำตามการออกเสียงแบบไทยๆ ว่า “จ้ำบ๊ะ” เพื่อใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ประกอบคำ “แทง” ในความหมายว่า ถนัดถนี่ เต็มที่ ไม่ยั้งมือ และต่อมาได้ นำมาใช้เป็นคำนามวิเศษณ์ประกอบคำ “ระบำ” ในความหมายว่า การแสดงระบำที่มีการเปลือยกายของผู้หญิงให้เห็นได้อย่างถนัดถนี่ 2) การเรียกน้ำแข็งไสว่า จ้ำบ๊ะมาจากรูปลักษณ์และวิธีการทำที่ก่อให้เกิดจินตนาการถึงระบำจ้ำบ๊ะ 3 ประการคือ 2.1 มีน้ำแข็งไสสีขาวที่พูนขึ้นคล้ายหน้าอกของนางระบำจ้ำบ๊ะ 2.2 มีการราดด้วยน้ำหวานสีแดงที่ให้สีสันฉูดฉาดเหมือนเครื่องแต่งกายของนางระบำจ้ำบ๊ะ และ 2.3 มีการโรยนมข้นหวานในลักษณะของการส่ายนมกระป๋องเหนือน้ำแข็งไส ซึ่งภาษาพูดจะเรียกว่า สั้น ๆ ว่า การส่ายนม ซึ่งเป็นท่าเต้นหนึ่งของนางระบำจ้ำบ๊ะ 3) “จ้ำบ๊ะ” ที่เป็นน้ำแข็งไสชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดมาจากชาวจีนในจังหวัดเพชรบุรีคิดทำขึ้น จากของเหลือกินในตอนเช้า คือ ปาท่องโก๋ โดยนำไปทอดให้กรอบ ใส่น้ำแข็งไสลงไป ใส่น้ำหวานสีแดง แล้วกินในลักษณะเช่นเดียวกันกับการกินน้ำแข็งไส ที่ใส่เครื่องประกอบอื่น ๆ โดยที่ยังไม่ได้เรียกว่า “จ้ำบ๊ะ” |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/750/1/170-55.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
จ้ำบ๊ะ: วัฒนธรรมการกินน้ำแข็งไสของคนไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.