ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ฝ่าวิกฤติฝุ่นเชียงใหม่ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศิริมา ปัญญาเมธีกุล |
คำสำคัญ | ฝุ่นพีเอ็ม 2.5;วิกฤติฝุ่นเชียงใหม่ |
หน่วยงาน | ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรรรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | สถานการณ์ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ใน จ.เชียงใหม่ แหล่งต้นกำเนิดที่ต่างจากในกรุงเทพฯพอสมควร เนื่องจากเชียงใหม่ไม่ได้มีปัญหาการจราจรคับคั่ง แต่สาเหตุสำคัญของฝุ่นในเชียงใหม่คือการเผาป่าเพื่อทำการเกษตร เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ประกอบกับปัญหาความแห้งแล้งในฤดูร้อน ซึ่งทำให้ฝุ่นละอองเพิ่มมากขึ้น ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่แล้งจัด ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรจัดการคือการสร้างความตระหนักและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประชาชนโดยชี้ให้เห็นทางเลือกใหม่ๆ ป่าเป็นชุมชนของเขาต้องมีทางเลือก 1, 2, 3 ให้เขาอยู่ได้โมเดลให้ดูว่าต้องทำอย่างไร มีวิธีอื่นใหม่ใช้เทคโนโลยีเข้าไปจัดการเพื่อรับมือปัญหาไฟป่าและการเผาป่า เช่น ใช้ระบบดาวเทียมตรวจสอบจุดความร้อน (ฮอตสปอต) เพื่อรีบเข้าไปทำแนวกันไฟในพื้นที่ป่า หรือใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อสอดส่องดูแล เป็นต้น การแก้ปัญหาระยะยาว หน่วยงานรัฐและเอกชนคงต้องร่วมมือกันแบบบูรณาการ ขั้นต้นทุกหน่วยงานต้องใช้หน่วย AQI เท่ากันเพื่อเป็นดัชนีในการตรวจสอบความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหา ส่วนดัชนีชี้วัดผลงานของหน่วยงานต่างๆ ก็ควรปรับเปลี่ยนจากด้านเศรษฐกิจและสังคมมาสู่ด้านสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมด้วย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.chula.ac.th/cuinside/18314/ |
สาขาการวิจัย | - |
ฝ่าวิกฤติฝุ่นเชียงใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.