ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีอาหารและเนื้อสัตว์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากโคและกระบือคัดทิ้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
รศ.ดร. สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
รศ.ดร. ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ ,
ผศ.ดร. อนุกูล วัฒนสุข |
คำสำคัญ |
โค;กระบือคัดทิ้ง;อาหารสัตว์;เนื้อสัตว์ |
หน่วยงาน |
ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
ผู้เลี้ยงโคเนื้อและกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย จากสถิติของกรมปศุสัตว์ปี 2558 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนโคเนื้อทั้งหมดในประเทศประมาณ 4.4 ล้านตัว เป็นโคจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.1 ล้านตัว (47%) มีเกษตรกรผู้เลี้ยงประมาณ 4.8 แสนครัวเรือน ส่วนกระบือนั้นมีปริมาณลดลงมากจากจำนวน 1.5 ล้านตัวในปี 2555 ลดลงเหลือเพียง 880,000 ตัว ในปี 2558 มีเกษตรกรผู้เลี้ยงประมาณ 200,000 ครัวเรือน โดยกระบือยังคงมีอยู่มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือประมาณ 660,000 ตัวเท่านั้นสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการเกษตรยังคงมีคุณค่าทางอาหารเหลืออยู่ทำให้สามารถนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในอาหารข้นเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคและกระบือเพื่อเป็นการลดต้นทุนของอาหารสัตว์และเป็นการลดปัญหามลภาวะแก่สภาพแวดล้อมได้ หลายงานวิจัยได้มีการทดลองใช้สิ่งเหลือทิ้งดังกล่าวเพื่อเป็นอาหารสัตว์พบว่าสามารถใช้ได้สูงสุดถึง 30% โดยไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อการขุนโคเนื้อและกระบือเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีความอุดมสมบูรณ์ของร่างกายดีขึ้น ปริมาณเนื้อที่ใช้ในการบริโภคเพิ่มขึ้น คุณภาพซากดีและคุณภาพเนื้อดีขึ้น สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและกระบือได้ |
สาขาการวิจัย |
|