ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้ครูต้นแบบกระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผลสู่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร.มณฑา จำปาเหลือง
เจ้าของผลงานร่วม ดร.เตือนใจ รักษาพงศ์ , ดร.ศศกร ไชยคำหาญ , นางดวงสมร บาตรโพธิ์ , อาจารย์เกรียงไกร จริยะปัญญา
คำสำคัญ ครูต้นแบบ;การสอนคิดเชิงเหตุและผล;ศตวรรษที่ 21;การจัดการความรู้
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อจัดการความรู้ให้ครูเป็นต้นแบบในการจัดกระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผลสู่ผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดเชิงเหตุและผลของนักเรียน ในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี และ 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลของโครงการการจัดการความรู้ครูต้นแบบกระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผลสู่ผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ครูและนักเรียนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี จานวน 43 และ471 คน การดาเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาครู ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้คาปรึกษาและแนะนา การออกแบบสร้างเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก และการใช้แนวคิดของการทาวิจัยในชั้นเรียน ระยะที่ 2 พัฒนานักเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก โดยใช้แบบแผนการวิจัย One Shot Case Study เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตาราสาหรับเป็นคู่มือการพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุและผล ประกอบด้วย แผนการจัดการความรู้ แบบแผนการทดลอง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หลักการแนวคิดของการคิดเชิงเหตุและผลและทักษะในศตวรรษที่ 21 ตัวอย่างเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก 3 องค์ประกอบ จานวน 10 แบบฝึกสาหรับทดลองใช้ตามลาดับการพัฒนาจากขั้นตอนที่ 1 การบอกองค์ประกอบของการคิดเชิงเหตุและผลของระบบ 5 แบบฝึก ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการคิดเชิงเหตุผล 2 แบบฝึก และขั้นตอนที่ 3 การประยุกต์ใช้การคิดเชิงเหตุและผลในการแก้ปัญหา 3 แบบฝึก แบบสอบถามด้านเจตคติ และด้านผลการดาเนินโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยผลการจัดการความรู้ให้ครูเป็นต้นแบบกระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผลสู่ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูในจังหวัดเพชรบุรีและกาญจนบุรี ในด้านความรู้ความเข้าใจการคิดเชิงเหตุและผล ในขั้นที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 93.12 ขั้นที่ 2 ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นที่การเขียนแผนภาพความคิด จาแนกเป็นการระบุผล การจาแนกผล และการเขียนแผนภาพความคิด คิดเป็นร้อยละ 100, 99.25 และ 89.75 และขั้นที่ 3 ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นที่การอธิบายแนวทางแก้ปัญหา จาแนกเป็นการเขียนแผนภาพความคิด การระบุปัญหา และการบอกแนวทางแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 41.67, 92.67 และ 87.67 ตามลาดับ 2. การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดเชิงเหตุและผลของนักเรียน ในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมในขั้นที่ 1 ของนักเรียนสายวิทย์และสายศิลป์ คิดเป็นร้อยละ 91 และ 80 ในขั้นที่ 2 ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นที่การเขียนแผนภาพความคิด จาแนกเป็นการระบุผล การจาแนกผล และการเขียนแผนภาพความคิด ของนักเรียนสายวิทย์และสายศิลป์ คิดเป็นร้อยละ 98, 93และ79 และ 97,87และ70 และขั้นที่ 3 ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นที่การอธิบายแนวทางแก้ปัญหา จาแนกเป็นการเขียนแผนภาพความคิด การระบุปัญหา และการบอกแนวทางแก้ปัญหา ของนักเรียนสายวิทย์และสายศิลป์ คิดเป็นร้อยละ 69,96 และ 94 และ 47,90 และ 86 ตามลาดับ 3. ค่าเฉลี่ยของการศึกษาและวิเคราะห์ผลของโครงการการจัดการความรู้ครูต้นแบบกระบวนการสอนคิดเชิงเหตุและผลสู่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูในจังหวัดเพชรบุรีและกาญจนบุรี ในด้านเจตคติโดยรวมก่อนและหลังการดาเนินโครงการ เท่ากับ 3.16 และ 4.65 และด้านผลการดาเนินโครงการโดยรวม เท่ากับ 4.54 จาแนกเป็นรายด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนาเข้า และด้านปฏิกิริยา มีค่าเท่ากับ 4.48, 4.69 และ 4.45 ส่วนของนักเรียนด้านเจตคติโดยรวมก่อนและหลังการดาเนินโครงการ เท่ากับ 3.13 และ 4.33 ด้านผลการดาเนินโครงการโดยรวมเท่ากับ 4.34 จาแนกเป็นรายด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนาเข้า และด้านปฏิกิริยา เท่ากับ 4.34, 4.42 และ 4.37 ตามลาดับ ข้อค้นพบจากการพัฒนาการคิดเชิงเหตุและผลแก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น ต้องพัฒนาครูให้เป็นต้นแบบอย่างเป็นระบบ โดยการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ มีการใช้ตาราสาหรับเป็นคู่มือที่มีองค์ประกอบของ วิธีการสร้างแบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูล แบบแผนการเก็บข้อมูล มีแผนการจัดการความรู้การทาแบบฝึก และมีการวัดผลความเป็นครูต้นแบบทั้งด้านการเข้าร่วมอบรม ด้านการมีส่วนร่วมของครูในการสร้างแบบฝึก ด้านการนาเสนอแลกเปลี่ยนและการได้รับคาปรึกษาและแนะนาการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ครู และด้านความรู้ ความเข้าใจของการคิดเชิงเหตุและผลใน 3 องค์ประกอบ ซึ่งทาให้เกิดผลลัพธ์ของโครงการคือครูสร้างแบบฝึก 3 องค์ประกอบ รวมจานวน 60 แบบฝึก เพื่อให้แต่ละโรงเรียนนาไปใช้ร่วมกันและขยายผลการนาไปใช้แก่โรงเรียนอื่นๆ เพื่อยกระดับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุและผลแก่ผู้เรียน
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง