ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเรือนพื้นถิ่นหมู่บ้านทะเลน้อย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ธาม วชิรกาญจน์ |
คำสำคัญ | การปรับตัว;การเปลี่ยนแปลง;เรือนพื้นถิ่น;หมู่บ้านทะเลน้อย |
หน่วยงาน | สาขาสถาปัตยกรรมและผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การปรับตัวของเรือนพื้นถิ่นทะเลน้อยมีการแปรเปลี่ยนทั้งในระบบของที่ว่างภายนอก ที่ว่างภายในและองค์ประกอบเรือนที่เกิดจากหลายปัจจัยจำแนกได้ ดังนี้ ที่ว่างภายนอกที่เกิดจากระบบนิเวศธรรมชาติ ยังผลให้พื้นที่ทางเดินบนผืนดินปรับตัวเป็นทางเดินสะพานไม้ยกสูง การพัฒนาคมนาคมทำให้มีการถมที่สร้างเรือนแบบไม่มีใต้ถุนเหมือนแต่ก่อน การแปรเปลี่ยนของเรือนเครื่องผูกจากวัสดุธรรมชาติมาเป็นเรือนเครื่องสับจากไม้จริงและรับวัฒนธรรมการสร้างเรือนจากถิ่นอื่น การปรับรูปทรงของหลังคา วัสดุมุงเริ่มเปลี่ยนตามเทคโนโลยี ไม้เป็นคอนกรีต รูปลักษณ์เรือนสมัยใหม่ การแปรเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยและสภาพแวดล้อมภายในเรือนเป็นผลจากทางเลียบทะเลน้อย เสมือนกำแพงดินที่ขวางกั้นวัฏจักรการขึ้นลงของน้ำทะเลที่ท่วมเจิ่งนองอยู่ใต้ถุนเรือน นอกชานจึงเป็นพื้นที่สำคัญซึ่งขาดเสียไม่ได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบใหม่ที่คืบคลานเข้ามา |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169228/121754 |
สาขาการวิจัย |
|
การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเรือนพื้นถิ่นหมู่บ้านทะเลน้อย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.