- วรุณญา อัจฉริยบดี
- 876 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความคิดของผู้นำและกิจกรรมของหญิงไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้เงากองทัพญี่ปุ่น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปิยวรรณ อัศวราชันย์ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | ผู้หญิงไทย;สงครามโลกครั้งที่ 2;ชาตินิยม;กองทัพญี่ปุ่น;จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
หน่วยงาน | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ผลการศึกษาโดยใช้เอกสารจากฝ่ายไทย ทั้งเอกสารราชการและหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ พบว่า กิจกรรมของผู้หญิงที่รัฐจัดขึ้นในช่วงนั้น มีเป้าหมายเพื่อเน้นย้ำบทบาทเมียและแม่ของผู้หญิง โดยมีคุณสมบัติสำคัญที่รัฐต้องการคือ “การเป็นเมียของชายไทย เพื่อเป็นแม่ที่ให้กําเนิดลูกที่มีเชื้อสายไทยบริสุทธิ์” และในขณะเดียวกันรัฐก็ได้สร้างภาพผู้หญิงไม่ดี คือ ผู้หญิงที่เป็นเมียชาวต่างชาติ ผู้หญิงเหล่านี้จะถูกมองว่าเป็นผู้ที่ไม่รักชาติ เป็นเพียงผู้หญิงที่เห็นแก่เงิน ซึ่งเกิดในบริบทที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามมีความวิตกกังวลต่อการแผ่ขยายอิทธิพลของญี่ปุ่นที่อาจจะกระทบต่อความเป็นเอกราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกราชทางวัฒนธรรมและความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติไทย เนื่องจากการเข้ามาของกองทัพญี่ปุ่นหมายถึงการมีชายชาวต่างชาติเข้ามาอยู่เป็นจํานวนมาก |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jsn/article/view/42407/35053 |
สาขาการวิจัย |
|
ความคิดของผู้นำและกิจกรรมของหญิงไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้เงากองทัพญี่ปุ่น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.