ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาความคิดสรางสรรค์ด้านการออกแบบลวดลายปูนปนของช่างปูนปั้นในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ ความคิดสร้างสรรค์;การออกแบบ;ลวดลายปูนปั้น;ช่างปูนปั้น
หน่วยงาน สาขาการออกแบบ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาช่างปูนปั้นในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน ในอำเภอดอยสะเก็ด สารภีและเมืองลําพูน พบว่า ช่างปูนปั้นในจังหวัดเชียงใหม่และ ลําพูน จําแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ช่างปูนปั้นพื้นบ้าน เป็นช่างที่ไม่ผ่านการศึกษาจากสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะ แต่อาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากช่างอาวุโสและช่างที่เป็นงานแล้ว และ 2) ช่างปูนปั้นประยุกต์เป็นช่างปูนปั้นที่ผ่านการศึกษาจากสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะและช่างปูนปั้น ทั้ง 2 ประเภทนี้ส่วนใหญ่ต้องเริ่มเรียนรู้งานปูนปั้นจากการตําปูนเป็นพื้นฐาน สามารถจําแนกเป็นกลุ่มช่างตามบริบทของพื้นที่อาศัยได้ คือ กลุ่มช่างดอยสะเก็ด กลุ่มช่างสารภี กลุ่มช่างแม่วาง และกลุ่มช่างลําพูน กระบวนการออกแบบลวดลายปูนปั้น ดังนี้คือ 1) ขั้นกําหนดความคิดเบื้องต้น 2) ขั้นการถ่ายทอดเป็นรูปธรรม 3) ขั้นการบูรณาการความคิด 4) ขั้นการทําให้เกิดความสมบูรณ์ และ 5) ขั้นการทําให้เกิดการยอมรับ สําหรับอัตลักษณ์ของลวดลายปูนปั้นในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน คือ1) ประเภทลวดลายปูนปั้น ได้แก่ ลวดลายที่ใช้ตกแต่งศาสนสถานและไม่ใช้ตกแต่งศาสนสถาน 2) ขั้นตอนการปั้นลวดลาย คือ ขั้นตอนการเตรียมและขั้นตอนการปั้น และ 3) รูปแบบลวดลายปูนปั้น คือ ลวดลายปูนปั้นที่ไม่ตกแต่งสีและลวดลายปูนปั้นที่ตกแต่งสี
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/26013/22058
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาความคิดสรางสรรค์ด้านการออกแบบลวดลายปูนปนของช่างปูนปั้นในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง