ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาคุณภาพเนื้อ คุณภาพซาก ต้นทุนและการยอมรับผลิตภัณฑ์ปลาสามชนิด (ปลาสวาย ปลานิล ปลาลูกผสมบึกสยาม (บึก x สวาย))
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อัจฉราวรรณ อินต๊ะโมงค์
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ คุณภาพซากปลา;คุณภาพเนื้อปลา;คุณค่าทางโภชนาการเนื้อปลา;ทัศนคติ;ไส้อั่วปลา
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย คุณภาพซากปลานิล ปลาลูกผสมบึกสยาม และปลาสวาย น้ำหนักประมาณตัวละ 900-1,200 กรัม ปลาลูกผสมบึกสยามมีปริมาณเปอร์เซ็นต์ดีที่สุดเนื่องจากมีปริมาณเนื้อมากที่สุด คือ 41.51 % ปริมาณเปอร์เซ็นต์เครื่องในและปริมาณเปอร์เซ็นต์กระดูกมีน้อยที่สุด ส่วนน้ำหนักก่อนการชำแหละไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p> 0.05) ค่าความเป็นกรด-ด่างในเนื้อปลานิล ปลาลูกผสมบึกสยาม และปลาสวายอยู่ในช่วงที่เหมาะสม สีของเนื้อปลานิลและปลาลูกผสมบึกสยามมีสีขาวอมชมพู คุณค่าทางโภชนาการปลาทั้งสามชนิดไม่มีความแตกต่างกัน จากการสอบถามผู้บริโภค พบว่า เนื้อปลามีรสชาติดี ราคาปานกลาง เนื้อปลาทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพแข็งแรง เนื้อปลามีความสะอาดและปลอดภัยกว่าเนื้อชนิดอื่นๆ ผู้บริโภคพึงพอใจไส้อั่วปลาลูกผสมบึกสยามมากที่สุด จึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น
ข้อมูลเพิ่มเติม http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/thesis/2560/Atcharawan_Intamong/fulltext.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาคุณภาพเนื้อ คุณภาพซาก ต้นทุนและการยอมรับผลิตภัณฑ์ปลาสามชนิด (ปลาสวาย ปลานิล ปลาลูกผสมบึกสยาม (บึก x สวาย)) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง