ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | น้ำยางพาราเกรดพิเศษสำหรับผสมกับแอสฟัลต์ซีเมนต์เพื่อทำถนน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุริยกมล มณฑา |
เจ้าของผลงานร่วม | ปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล , อรุณ คงแก้ว , ภิพัฒชา รักดี , นันทินา มูลประสิทธิ์ , ฉวีวรรณ คงแก้ว , สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ |
คำสำคัญ | น้ำยางพารา;น้ำยาง ULA |
หน่วยงาน | ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | น้ำยางพาราเกรดพิเศษ หรือ น้ำยาง ULA มีปริมาณแอมโมเนียต่ำมาก มีเสถียรภาพเชิงกลและเสถียรภาพต่อความร้อนสูง ช่วยแก้ไขปัญหามลภาวะของไอระเหยแอมโมเนียและการอุดตันท่อนำส่งในโรงงานผลิต PARA AC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การผลิต PARA AC ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับความต้องการใช้งานตามนโยบายสนับสนุนการใช้ยางพาราทำถนน มีการใช้ประโยชน์น้ำยาง ULA ในเชิงพาณิชย์แล้ว น้ำยาง ULA > 3,000 ตัน (น้ำยางสด > 6,000 ตัน) ถูกนำไปผลิต PARA AC > 40,000 ตัน ทำถนนยางพารา > 900 เส้นทาง ระยะทาง > 1,000 กิโลเมตร สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม > 1,200 ล้านบาท สร้างมูลค่าการก่อสร้างถนนยางพารา > 2,528 ล้านบาท และยังคงมีการใช้ประโยชน์น้ำยาง ULA อย่างต่อเนื่องในอนาคต |
สาขาการวิจัย |
|
น้ำยางพาราเกรดพิเศษสำหรับผสมกับแอสฟัลต์ซีเมนต์เพื่อทำถนน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.