ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การยับยั้งเอนไซม์ flavin-dependent thymidylate synthase ของ Mycobacterium tuberculosis ด้วยแบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตมัยซีตที่แยกได้จากดินในประเทศไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ยูวายรีหยะห์ มูหะหมัด a ผศ. ดร. สชุาติ ชะนะมา b รศ. ดร. มณี ชะนะมา a
คำสำคัญ Mycobacterium tuberculosis, thymidylate synthase, วัณโรค, แอกติโนมัยซีต
หน่วยงาน a ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล b ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย วัณโรคเป็นปัญหาสําคัญทางสาธารณสุขทั่วโลกและพบมีการดื้อยาของเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) สูงมากขึ้นใน ปัจจุบันจึงมีความจำาเป็นในการหายารักษาวัณโรคตัวใหม่ Flavin-dependent thymidylate synthase ของเชื้อ M. tuberculosis (MtbThyX) เป็นเอนไซม์สำคัญในการสังเคราะห์สารเคมีต้นต่อสําหรับสร้างดีเอ็นเอในเซลล์และมีความแตกต่างกับ thymidylate synthase (TS) ที่พบในคน จึงเป็นเป้าหมายใหม่ของยารักษาวัณโรค สเตรปโตมัยซีต(streptomycetes) เป็นแบคทีเรียกลุ่มที่มีความสามารถในการ สร้างยาปฏิชีวนะที่มีความหลากหลายทางการออกฤทธิ์สูงสุด ดังนั้นผู้วิจัยได้มุ่งค้นหาสารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ MtbThyX จากสเตรปโตมัยซีตที่แยกได้จากดินในประเทศไทย โดยใช้ Escherichia coli ซึ่งขาดยีนแสดงออกเอนไซม์ TS แต่มียีนแสดงออก MtbThyX ซี่งเป็นเป้าหมายในการทดสอบหาสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ MtbThyX โดยเปรียบเทียบกับ E. coli ที่ขาดยีนแสดงออก TS และ MtbThyX จากการคัดกรองสเตรปโตมยัซตีจำนวน 50 สายพันธุ์ซึ่งเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็ง oatmeal เพื่อหาสารออกฤทธิ์ยับยั้ง MtbThyX ด้วยวิธีagar plug พบว่ามีสเตรปโตมยัซตีจำนวน 6 สายพันธุ์ที่แสดงการยับยั้งโคโลนีของ E. coli ที่มี MtbThyX และเมื่อนําสายพันธุ์ดังกล่าว มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งที่มีแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนต่างกันจำนวน 13 ชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อการยับยั้ง MtbThyX พบว่าสายพันธุ์ SMC 257 ผลิตสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งสูงสุดต่อ MtbThyX ที่สามารถทําการสกัดออกมาได้จาก agar ด้วยตัวทําละลายอินทรีย์ เอทลิอะซิเตท จากการนำสารสกดัเอทลิอะซิเตทดังกล่าวข้างต้นมาผ่านกระบวนการแยกให้ได้สารบริสุทธิ์ด้วยวิธี hydrophobic-solid phase extraction และ reversed phase HPLC พบว่าแยกสารสกัดได้เป็น2 ส่วน (fraction) ที่ให้ฤทธิ์ยับยั้ง MtbThyX ของเชื้อวัณโรค ได้สูงสุด จึงอาจกล่าวได้ว่ามีสารต้านวัณโรคซึ่งมีฤทธิ์สูงในการยับยั้ง MtbThyX ชนิดเดียวกันหรือแตกต่างกันใน fractions เหล่านี้ ที่จะต้อง ทำการแยกให้ได้สารบริสุทธิ์แต่ละตัวต่อไป
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง