ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง กระบวนการขยายสัญญาณของอนุภาคทองขนาดนาโน ด้วยการเพิ่มชั้นโลหะติดฉลาก
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ธวิวรรณ เหล่าเจริญสุข
คำสำคัญ อนุภาคทอง;โอลิโกนิวคลีโอไทด์;โปรตีนไบโอมาร์คเกอร์
หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การพัฒนาเทคนิคที่มีความไวในการวิเคราะห์สูง สามารถตรวจวิเคราะห์สารปริมาณน้อยมากที่มีอยู่ในตัวอย่างได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ เช่น การตรวจวิเคราะห์ปริมาณดีเอ็นเอ โอลิโกนิวคลีโอไทด์ (oligonucleotide) และโปรตีนไบโอมาร์คเกอร์ (Biomarker proteins) ดังนั้น เทคนิคที่มีความไวในการวิเคราะห์สูง (high sensitivity) จึงมีความจำเป็นและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ในระยะริ่มตัน ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากความไวในการวิเคราะห์ที่สูงแล้ว การตรวจวิเคราะห์ที่ทำได้อย่างรวดเร็วยังมีความสำคัญมาก เช่น การตรวจวิเคราะห์ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถตอบรับกับสถานการณ์ที่มีผลกระทบโดยตรงกับผู้บริโภค เช่น การตรวจจับสารเคมีตกค้างในเรื่องของการปนเปื้อน ของยาฆ่าแมลงในผลผลิตและการตรวจหายาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ รวมถึงการวัดปริมาณจุลินทรีย์ที่ก่อโรคที่ปนเปื้อนในสินค้าการเกษตรและอาหาร หากไม่สามารถตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียได้ทันท่วงที ทำให้อาหารที่ผลิตมีการปนปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้มีปัญหาสินค้าส่งออกที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากคุณภาพของอาหารที่ไม่ผ่านมาตราฐานคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม http://waa.inter.nstda.or.th/stks/images-archived/stories/20150425-01-nac2015-tlo.jpg
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ
Creative Commons License


กระบวนการขยายสัญญาณของอนุภาคทองขนาดนาโน ด้วยการเพิ่มชั้นโลหะติดฉลาก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง