ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของฟอสฟอรัสต่อจลนพลศาสตร์การปลดปล่อยและดัชนีความเป็นประโยชน์ของสังกะสีต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สายชล สุขญาณกิจ |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร. ศุภิฌา ธนะจิตต์ |
คำสำคัญ | การดูดซับและการปลดปล่อยสังกะสี;สังกะสีที่เป็นประโยชน์;ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือ |
หน่วยงาน | ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ดินนาโซดิกที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ ชุดดินพิมาย กุลาร้องไห้ ร้อยเอ็ด ท่าตูม และอุบล ถูกคัดเลือกเพื่อศึกษาการดูดซับและการปลดปล่อยสังกะสีในดินที่ได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัสแตกต่างกัน พบว่า ค่าความจุดูดซับสังกะสีของดินจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการขังน้ำและมีค่าสูงสุดในวันที่ 14 ในชุดดินร้อยเอ็ด และชุดดินอุบล ส่วนชุดดินท่าตูมและชุดดินพิมายเป็นวันที่ 30 จากนั้นจะเริ่มปลดปล่อยสังกะสีออกมาจนมีค่าสูงสุดภายใน 60 หลังขังน้ำและมีค่าลดลงอย่างชัดเจนภายใน 30 วันหลังจากที่ปลดปล่อยออกมาสูงสุด การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตรา 3 และ 6 กก.P2O5/ไร่จะทำให้ชุดดินพิมายและกุลาร้องไห้ดูดซับสังกะสีของดินลดลงและปลดปล่อยสังกะสีออกมามากขึ้น ขณะที่การใส่ปุ๋ยในอัตราสูงที่ 12 กก.P2O5/ไร่ จะทำให้ชุดดินที่เหลือดูดซับสังกะสีเพิ่มขึ้น |
สาขาการวิจัย |
|