ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | โครงการ รูปแบบการปลูกพืชผสมผสานเพื่อลดการเผาของเกษตรกรบนพื้นที่เขาลาดชัน จังหวัดน่าน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผศ. ดร.ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | นายปัญญวัฒณ์ อุดราช |
คำสำคัญ | maize production, overlapping crops with maize, maize-replacement crops |
หน่วยงาน | คณะเกษตรศาสตร์ มช. |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | โครงการวิจัยย่อย เรื่อง รูปแบบการปลูกพืชผสมผสานเพื่อลดการเผาของเกษตรกรบนพื้นที่เขาลาดชัน จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ หลัก คือ ศึกษารูปแบบการปลูกพืชผสมผสานร่วมกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชทดแทน ที่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการเผาพื้นที่เกษตรกรรมและไฟป่า ร่วมทั้ง วิเคราะห์ ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ มิติเศรษฐกิจ ได้แก่ผลตอบแทน ต้นทุน-กำไร รวมทั้ง มิติสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการปลูกพืชผสมผสานเพื่อลดการเผาของเกษตรกรบนพื้นที่เขาลาดชัน คือการปลูกพืชเหลื่อมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ พืชที่ได้ผลได้แก่ถั่วนิ้วนางแดง ในขณะที่ งาดำและงาขี้ม้อนเติบโตได้น้อยเมื่อหว่านระหว่างแถวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ พบว่าพืชทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้ผลดี คือ กล้วยน้ำว้ากับตะไคร้ และ กล้วยน้ำว้ากับสับปะรด ใน ขณะเดียวกัน การปลูกกล้วยน้ำว้ากับตะไคร้ เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินและมีรายได้ ประโยชน์ของข้อค้นพบดังกล่าว คือ เกษตรกรทั้ง 7 รายมีความรู้และเกิดความมั่นใจในการปลูกเหลื่อมและพืชทดแทน |
สาขาการวิจัย |
|
โครงการ รูปแบบการปลูกพืชผสมผสานเพื่อลดการเผาของเกษตรกรบนพื้นที่เขาลาดชัน จังหวัดน่าน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.