ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นประเภทกระเป๋าจากเศษผ้าฝ้ายทอเหลือใช้ : กรณีศึกษาผ้าฝ้ายทอไทลื้อบ้านเฮี้ย อ.ปัว จังหวัดน่าน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กมลวรรณ พัชรพรพิพัฒน์ |
คำสำคัญ | การออกแบบผลิตภัณฑ์;ผ้าฝ้ายทอไทลื้อ;กระเป๋าทรงถุงผ้า |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การวิจัยลงพื้นที่สำรวจชุมชนและเศษผ้า สอบถามกลุ่มเป้าหมายถึงความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าและทัศนคติเกี่ยวกับเศษผ้าทอ ทำการออกแบบและผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์และให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมิน พบว่า เศษผ้ารูปร่างสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำการแบ่งกลุ่มสีของเศษผ้า ได้แก่ เศษผ้ากลุ่มสีจัดจ้านและกลุ่มสีหม่น เศษผ้ากลุ่มสีโทนอ่อน และกลุ่มสีอ่อนมาก และเศษผ้ากลุ่มสีเข้มจัด แนวทางในการออกแบบกระเป๋าทรงถุงผ้าได้ 3 รูปแบบ คือ แนวคิดผสม แนวคิดประกอบ และแนวคิดเลียนลาย ส่วนกระเป๋าใส่ของขนาดเล็กใช้เศษผ้ารูปร่างสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมขนาดเล็กตัดต่อแนวทะแยงตามรูปแบบของแต่ละแนวคิด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/public/8nn0a0szrjksgs4400.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นประเภทกระเป๋าจากเศษผ้าฝ้ายทอเหลือใช้ : กรณีศึกษาผ้าฝ้ายทอไทลื้อบ้านเฮี้ย อ.ปัว จังหวัดน่าน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.