ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของการเสริมยูเรียและกากน้ำตาลต่อคุณภาพของเปลือกข้าวโพดหมัก และการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนของโคดอย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ
เจ้าของผลงานร่วม ณิชตา เป็งทินา , พรทิพย์ แสนยอง , นพพล ชุบทอง , ชัยวัฒน์ อาจิน , ณรกมล เลาห์รอดพันธ์
คำสำคัญ ยูเรีย;กากน้ำตาล;เปลือกข้าวโพดหมัก;โคดอย
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ศึกษาผลการเสริมยูเรียและกากน้ำตาลต่อคุณภาพของเปลือกข้าวโพดหมัก และความสามารถในการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนของโคดอย โดยผสมกากน้ำตาลและยูเรียกับน้ำ นำไปราดเปลือกข้าวโพดที่ผสมกับข้าวโพดบด ในอัตราส่วน ซึ่งมี 2 ปัจจัยคือ ระดับยูเรีย (2 และ 3%) และระดับของกากน้ำตาล (5 และ 10%) หลังจากหมักได้ 34 วัน ทำการประเมินคุณภาพพืชหมัก ศึกษาค่าการย่อยสลายด้วยวิธีใช้ถุงไนลอน และการหาการย่อยได้ โดยวิธี In vitro gas production technique พบว่าการเสริมกากน้ำตาลในระดับสูงทำให้เกิดกรดอะซิติกต่ำกว่า และทำให้เปอร์เซ็นวัตถุแห้ง NDF และ ADL จะเพิ่มขึ้น แต่การเสริมยูเรียในระดับสูงทำให้เกิดกรดแลคติกต่ำกว่า และทำให้เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้งและ ADL ของพืชหมักลดลง ค่า In sacco dry matter disappearance และ In vitro gas production มีแนวโน้มไปในทางเดียวกันคือ การเสริมกากน้ำตาลในระดับสูงกว่าจะทำให้มีส่วนที่ละลายได้สูงกว่า ค่าการย่อยสลายช่วงแรกจึงสูงกว่า ในขณะที่การเสริมยูเรียในระดับที่สูงกว่าจะทำให้มีการย่อยสลายเยื่อใยได้ดีขึ้น แต่จุลินทรีย์จะใช้เวลาในการย่อยสลาย จึงทำให้ค่าการย่อยสลายในช่วงท้ายของการย่อยสลายเพิ่มขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=413.pdf&id=708&keeptrack=10
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของการเสริมยูเรียและกากน้ำตาลต่อคุณภาพของเปลือกข้าวโพดหมัก และการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนของโคดอย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง