- ปาจรีย์ อ่อนสอาด
- 178 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | องค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อการสร้างกระแสความนิยมเพลงเกาหลีในประเทศไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จรรยาลักษณ์ สิริกุลนฤมิตร |
เจ้าของผลงานร่วม | ภิญรดา เมธารมณ์ |
คำสำคัญ | การสื่อสาร;ธุรกิจเพลง;เพลงเกาหลี;กระแสนิยม;วัฒนธรรมเกาหลี |
หน่วยงาน | คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ศึกษาจากองค์ประกอบของการสื่อสาร 4 องค์ประกอบคือ 1.ผู้ส่งสารหรือค่ายเพลงเกาหลี 2. สารคือ เพลงเกาหลี 3.ช่องทางในการเผยแพร่เพลงเกาหลี และ4. ผู้รับสารหรือผู้บริโภคเพลงเกาหลี โดยการเก็บข้อมูลงานวิจัย ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า กระแสความนิยมเพลงเกาหลีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง โดยแต่ละช่วงนั้น องค์ประกอบทั้งสี่ต่างมีบทบาทในการทำให้เกิดกระแสนิยมต่างกันออกไป“ช่วงสร้างความรู้จัก” คือช่วงที่ค่ายเพลงเกาหลีจำเป็นต้องทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสในการเปิดรับเพลงเกาหลีมากที่สุด โดยผู้ผลิตจำเป็นที่ต้องใส่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภครับรู้ประกอบกับการนำเสนอสารที่มีความน่าสนใจผ่านช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในวงกว้าง“ช่วงเป็นที่นิยม” คือ ช่วงที่ผู้บริโภคมีความกระตือรือร้นในการติดตามข้อมูลข่าวสารด้วยตัวเองระดับหนึ่ง ผู้ผลิตเพียงแต่ตอกย้ำคุณค่าและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภครับรู้ สุดท้ายคือ “ช่วงรักษาความนิยม”เป็นช่วงที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องรักษาความใกล้ชิดเพื่อยึดอายุผลิตภัณฑ์ของตน โดยให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba157/Article/JBA157JanPin.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
องค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อการสร้างกระแสความนิยมเพลงเกาหลีในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.