- กนกวรรณ จัดวงษ์
- 508 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกจากก๊าซชีวภาพสำหรับใช้ในชุมชน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ |
เจ้าของผลงานร่วม | องอาจ ส่องสี , บุญล้อม ชีวะอิสระกุล |
คำสำคัญ | ก๊าซชีวภาพ;มีเทน;ไฮโดรเจนซัลไฟด์;ตัวกลางดูดซับ;เฟอร์ริกไฮดรอกไซด์ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ก๊าซชีวภาพที่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยเมื่อใช้มูลสุกรแม่พันธุ์ สุกรขุน และมูลนกกระทาไข่ มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2 S) 480, 1,773 และ 3,509 ppm ก๊าซดังกล่าวมีกลิ่นเหม็น และกัดกร่อนโลหะเป็นอันตรายต่อหัวเตาหุงต้มหรือเครื่องยนต์ จึงควรกำจัดออกโดยใช้สารดูดซับที่แช่ในสารละลายเฟอร์ริก ไฮดรอกไซด์และโซดาไฟ โดยใช้ปูนซีเมนต์เทาผสมดินเบาหรือทรายละเอียด เมื่อนำไปวัดในฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ สุกรขุน และนกกระทาไข่ พบว่า การใช้ทรายผสมปูนซีเมนต์สามารถลด H2 S ได้ดีกว่าดินเบาผสมปูนซีเมนต์เทาและการใช้ฝอยเหล็ก กล่าวคือ ลดได้ 99.3-97.3, 78.0-74.0 และ 69.4-49.9% เมื่อนำตัวกลางทรายละเอียดผสมปูนซีเมนต์เทาบรรจุลงในท่อ PVC ที่มีความยาว 50, 75 และ 100 ซม. พบว่า ประสิทธิภาพในการดูดซับเพิ่มขึ้นตามความยาวของท่อ คือ ลด H2 S ได้เท่ากับ 99.3-97.3, 99.8-99.0 และ 100-99.6% โดยชุดดูดซับที่มีความยาว 100 ซม. สามารถลด H2 S จาก 2,400 ppm เป็น 0 ppm ในวันแรก และ 3 ppm หลังใช้งานนาน 30 วัน โดยตัวดูดซับจะเปลี่ยนสีจากน้ำตาลแดงเป็นสีน้ำตาลเข้ม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=442.pdf&id=711&keeptrack=10 |
สาขาการวิจัย |
|
การกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกจากก๊าซชีวภาพสำหรับใช้ในชุมชน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.