ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือนบนที่สูง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง องอาจ ส่องสี
เจ้าของผลงานร่วม สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ , พรทิพย์ ผลเพิ่ม , สุคีพ ไชยมณี , บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
คำสำคัญ ก๊าซชีวภาพ;พลังงานทดแทน;เกษตรกรบนที่สูง;อาหารสัตว์ในท้องถิ่น
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ศึกษาพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพต้นแบบที่เหมาะสมกับสภาพของเกษตรกรบนพื้นที่สูง 3 ระดับคือ 400-800, 800-1,000 และสูงกว่า 1,000 เมตร โดยใช้ถุงหมักพีวีซี ขนาด 5, 7.5 และ 10 ลบ.ม. สำหรับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนในครัวเรือน ผลปรากฎว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ เลี้ยงสุกรผสมพันธุ์พื้นเมืองกับเหมยซาน หรือเปียแตรง เฉลี่ยครัวเรือนละ 6.2 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ท้องถิ่น เช่น ต้นกล้วยสด ต้นกล้วยหมัก หรือเศษผัก ผสมรำโรงสีเล็กเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป และเลี้ยงโคพื้นเมืองแบบปล่อยตามธรรมชาติ เฉลี่ยครัวเรือนละ 7.5 ตัว ใช้ฟืนในการหุงต้มเฉลี่ยวันละ 5-9 ท่อน ขนาดท่อนละ 3-7 กก. ในสภาพที่มีแสงแดดตามปกติ ถุงหมักบนพื้นที่สูง 3 ระดับดังกล่าวจะผลิตก๊าซชีวภาพได้ โดยก๊าซที่ผลิตได้จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของถุงหมัก การเสริมกากถั่วเหลืองหรือข้าวโพดบดลงในถุงหมักจะทำให้ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้น โดยที่ก๊าซที่ได้มีปริมาณมีเทน 56% ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2 S) 378.5 ppm สามารถใช้ทดแทนฟืนและก๊าซ LPG เฉลี่ย 1-2 ชั่วโมง/วัน ลดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยกว่า 330 บาท/เดือน รวมทั้งลดการใช้ฟืนได้ไม่น้อยกว่า 90-210 กก./เดือน มีระยะเวลาคืนทุน 3-5 เดือน และเกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=452.pdf&id=712&keeptrack=9
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือนบนที่สูง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง