ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และตะไคร้หอม ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม: Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae และ Escherichia coli |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
อัจฉรัตน์ สุวรรณภักดี |
เจ้าของผลงานร่วม |
รังสิมา สายศรทิพย์ ,
ศุภารัตน์ สุทธิมุสิก |
คำสำคัญ |
น้ำมันหอมระเหย;ตะไคร้;ตะไคร้หอม;เต้านมอักเสบ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยทักษิณ |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
การศึกษาเพื่อทำการสกัดและทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และตะไคร้หอม ต่อการยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เต้านมอักเสบในโคนม 3 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae และ Escherichia coli โดยสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และตะไคร้หอม ด้วยวิธีการกลั่นไอน้ำ พบว่า สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และตะไคร้หอมได้ปริมาณ 1.76 และ 1.28% เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และตะไคร้หอม มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด ด้วย Broth dilution method โดยการเจือจางน้ำมันหอมระเหย จำนวน 10 ระดับความเข้มข้น โดยมีวามเข้มข้นตั้งแต่ 0.3906-200 µg/ml พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อ S. aureus และ St. agalactiae ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ E. coli โดยมีค่า Minimal inhibitory concentration (MIC) เท่ากับ 3.125,3.125 และ 12.5 µg/ml และมีค่า Minimum bactericidal concentration (MBC) เท่ากับ 6.25, 25.0 และ 25.0 µg/ml น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมสามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อ S. aureus ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ และ E. coli โดยมีค่า MIC เท่ากับ 1.5625, 3.125 และ 6.25 µg/m และมีค่า MBC เท่ากับ 6.25, 6.25 และ 25 µg/ml จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ และตะไคร้หอม สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=501.pdf&id=717&keeptrack=4
|
สาขาการวิจัย |
|