ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของชนิดโปรเจสเทอโรนสังเคราะห์ต่ออัตราการผสมติดในแพะ พื้นเมืองไทยโดยวิธีผสมเทียมแบบกำหนดเวลา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วิไลวรรณ ขันธุแสง
เจ้าของผลงานร่วม ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ , ทศพล มูลมณี , จิรัฐติ ธรรมศิริ , ศรุติวงศ์ บุญคง , วินัย ใจขาน
คำสำคัญ โปรเจสเทอโรนสังเคราะห์;อัตราการผสมติด;กำหนดเวลาการผสมเทียม;แพะพื้นเมืองไทย
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย เปรียบเทียบโปรเจสเทอโรนสังเคราะห์ 2 ชนิด (Chronogest® และ Eazi-BreedTMCIDR® ) ในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและการกำหนดเวลาผสมเทียม ต่ออัตราการผสมติดในแพะพื้นเมืองไทย ใช้แพะเพื้นเมืองไทยเพศเมีย อายุ 10 เดือน และน้ำหนักเฉลี่ย 16.9 กิโลกรัม จำนวน 32 ตัว (กลุ่มละ 16 ตัว) โดยสุ่มให้แพะได้รับโปรเจสเทอโรนสังเคราะห์แบบ Chronogest® หรือ Eazi-BreedTMCIDR® สอดช่องคลอดนาน 14 วัน ในวันที่ 14 ก่อนถอนฮอร์โมนฉีด PMSG 250 IU และ PGF2α 0.5 ml จากนั้นผสมเทียมแพะทั้ง 2 กลุ่มที่เวลา 56 ชั่วโมง หลังจากถอนฮอร์โมนด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งพันธุ์ลูกผสม ผลการทดลองพบว่า อัตราการผสมติดในกลุ่มที่ได้รับ Chronogest® เท่ากับ 5/16 (31.25%) และในกลุ่มที่ได้รับ Eazi-BreedTMCIDR® ) เท่ากับ 3/16 (18.75%) ดังนั้นโปรเจสเทอโรนสังเคราะห์ ทั้ง 2 ชนิด สามารถนำมาใช้ในการเหนี่ยวนำการเป็นสัด และการกำหนดเวลาผสมเทียมในแพะพื้นเมืองได้
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=521.pdf&id=719&keeptrack=9
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของชนิดโปรเจสเทอโรนสังเคราะห์ต่ออัตราการผสมติดในแพะ พื้นเมืองไทยโดยวิธีผสมเทียมแบบกำหนดเวลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง