ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ห่วงโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นงค์นุช บุญกล่ำ
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ คลัสเตอร์;มะม่วงน้ำดอกไม้;ห่วงโซ่อุปทาน
หน่วยงาน สาขาการจัดการธุรกิจระหวางประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ลักษณะห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกเป็นแบบห่วงโซ่สมัยใหม่ การผลิตมีต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี เนื่องจากต้นทุนปัจจัยการผลิตหลัก เช่น สารเคมี ปุ๋ย เป็นต้น ในขณะที่รายได้ลดลงเนื่องจากผลผลิตมีปริมาณลดลงจาก 1) ปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ ปัญหาด้านสภาวะอากาศที่มีความแห้งแล้ง ความหนาวที่ผิดปกติ ปัญหาสารเคมีจากการทำฝนหลวง แมลง โรคระบาด เพลี้ยไฟ ปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ 2) ปัจจัยภายใน เช่น ขาดการวางแผน ขาดความร่วมมือของกลุ่ม จากการศึกษา Cluster ของผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้โดยใช้แบบจำลองเพชรแห่งความได้เปรียบ (Diamond Model) พบจุดแข็ง คือ ความต้องการของตลาด โดยความต้องการบริโภคในปริมาณที่สูงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และมีตลาดใหม่ๆ ทั้งในยุโรปและเอเชีย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องและการแข่งขัน รวมทั้งบริษัทผู้ส่งออกที่มีคู่แข่งน้อยราย มีกลุ่มบริษัทผู้ส่งออกซึ่งเป็นแหล่งปลายน้ำได้เข้ามารับซื้อโดยตรง จุดอ่อน คือ เกษตรกรมีข้อจำกัดในการขอใบรับรองมาตรการด้านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agricultural Practice [GAP]) ขาดการนำระบบการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างเหมาะสม การขาดการสนับสนุนและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตจากภาครัฐและสถาบันการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม http://kasetsartjournal.ku.ac.th/kuj_files/2017/A1712061118514052.pdf
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
Creative Commons License


ห่วงโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง